Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2022
Document Type
Independent Study
First Advisor
ศารทูล สันติวาสะ
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2022.128
Abstract
เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาปัญหาภาระหน้าที่และความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งและสิ่งอำนวยความสะดวกในกิจการปิโตรเลียม ซึ่งกิจกรรมการรื้อถอนดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่มีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากและควรเป็นหน้าที่และรับผิดชอบของใครจึงจะเหมาะสมและไม่เป็นการสร้างภาระต้นทุนแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกินความจำเป็น ตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 ได้รับการแก้ไขครั้งที่ 5 (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 โดยแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 80/1 และ 80/2 เพื่อวางหลักเกณฑ์หน้าที่ของผู้รับสัมปทานหรือผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตมีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งและสิ่งอำนวยความสะดวกในกิจการปิโตรเลียม และการวางหลักประกันการรื้อถอน ในกรณีที่สิ่งติดตั้งในกิจการปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานได้ส่งมอบสิ่งติดตั้งในกิจการปิโตรเลียมให้แก่รัฐและรัฐเห็นสมควรนำสิ่งติดตั้งนั้นไปใช้ประโยชน์ต่อนั้น กฎกระทรวง กำหนดแผนงาน ประมาณการค่าใช้จ่ายและหลักประกันในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียม พ.ศ. 2559 ข้อ 22 ได้กำหนดให้ผู้รับสัมปทานรายเดิมมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งดังกล่าว ซึ่งทำให้เกิดปัญหาข้อพิพาทระหว่างผู้รับสัมปทานกับรัฐและเป็นการสร้างภาระที่เกินความจำเป็นแก่ผู้รับสัมปทานรายเดิม จากการศึกษากฎหมายประเทศไทยโดยเปรียบเทียบกับกฎหมายสหราชอาณาจักรและกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าในกรณีที่สิ่งติดตั้งในกิจการปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานได้ส่งมอบสิ่งติดตั้งในกิจการปิโตรเลียมให้แก่รัฐและรัฐเห็นสมควรนำสิ่งติดตั้งนั้นไปใช้ประโยชน์ต่อนั้น กฎหมายสหราชอาณาจักรและกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกามีแนวทางที่ไม่เป็นการสร้างภาระที่เกินความจำเป็นแก่ผู้รับสัมปทานซึ่งสามารถนำมาใช้ในการแก้ไขกฎหมายประเทศไทยได้ 2 แนวทางดังนี้ แนวทางแรก กำหนดให้ผู้โอนสิทธิ์และผู้รับโอนสิทธิ์ในสัญญาสัมปทานมีภาระเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ในช่วงที่ผู้โอนสิทธิ์เป็นผู้ถือครองสิทธิผลประโยชน์และพันธะในสัญญาสัมปทาน และกำหนดให้ผู้โอนสิทธิและผู้รับโอนสิทธิ์ในสัญญาสัมปทานต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนตามสัดส่วนการถือครองสิทธิผลประโยชน์และพันธะในสิ่งติดตั้งนั้นในสัญญาสัมปทานหรือตามสัดส่วนการใช้งาน ซึ่งคำนวณตามสัดส่วนปริมาณการผลิตปิโตรเลียมสะสมเทียบกับปริมาณปิโตรเลียมทั้งหมด แนวทางที่สอง กำหนดให้ผู้รับโอนสิทธิ์สัญญาสัมปทานมีภาระเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งในกรณีดังกล่าว ผู้รับโอนต้องได้รับการประเมินความแข็งแกร่งทางการเงิน โดยคำนึงถึงความสามารถในการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรื้อถอนให้สอดคล้องกับมูลค่าสุทธิของผู้รับโอนสิทธิ์สัญญาสัมปทาน มีการประเมินความเสี่ยงทางการเงินและทำความเข้าใจถึงแผนงานในอนาคตเพื่อให้มีความมั่นใจได้ว่าผู้รับโอนที่เข้ามานั้นสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งได้
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ชีรชานนท์, ไพบูลย์, "ปัญหาหน้าที่และความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายการรื้อถอนสิ่งติดตั้งในกิจการปิโตรเลียมเป็นการสร้างภาระต้นทุนเกินความจำเป็นแก่ผู้รับสัมปทานจากรัฐ : ศึกษากรณีการผลักภาระต้นทุนการรื้อถอนให้แก่ผู้รับสัมปทานรายเดิม" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 8210.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/8210