Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2022
Document Type
Independent Study
First Advisor
ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2022.171
Abstract
หลังจากที่ประเทศไทยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รวมไปถึงการสร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล ตั้งแต่การเก็บ รวบรวม หรือใช้ข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมของเจ้าของข้อมูล ซึ่งเป็นการบังคับใช้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ขณะเดียวกันพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มีการบังคับใช้ในหน่วยงานภาครัฐ เปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานต่าง ๆ ของรัฐเพื่อที่ประชาชนจะสามารถแสดงความคิดเห็น และใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยถูกต้องกับความเป็นจริง อีกทั้งเพื่อให้ประชาชนสามารถปกปักรักษาประโยชน์ของตนได้ประกอบกับได้รับการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของราชการไปพร้อมกัน อย่างไรก็ตามหน่วยงานราชการซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ ฯ และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ฯ จึงควรจัดให้มีกระบวนการหรือขั้นตอนที่เป็นมาตรฐานในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตั้งแต่การจัดเก็บ การรักษา การใช้ หรือการโอนข้อมูลให้มีความปลอดภัย การกำหนดข้อยกเว้นของการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนความเชื่อมโยงระหว่างกฎหมายเพื่อให้เกิดเป็นมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในหน่วยงานของรัฐและเอกชนให้มีความสัมพันธ์หรือแนวทางการปฏิบัติที่สอดคล้องกัน ดังนั้นเอกกัตศึกษาเล่มนี้ ต้องการจะศึกษาว่าการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 สามารถที่จะดำเนินการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารราชการตามคำร้องขอได้หรือไม่ ขณะเดียวกันการเปิดเผยนั้นจะเป็การการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลจนเกินสมควรหรือไม่ ดังนั้นจะมีหลักเกณฑ์หรือกลไกใดที่จะเข้ามาช่วยให้การดำเนินการการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวนั้นสามารถดำเนินการไปได้อย่างสมดุล และสอดคล้องเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เมื่อพิจารณาในภาพรวมควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการให้สามารถดำเนินการได้โดยไม่เป็นการทำลายการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของปัจเจกบุคคลจนเกินสมควร และสามารถเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลได้ โดยภายในหน่วยงานอาจจะมี 1.การกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามคำร้องขอว่าผู้ร้องขอมีวัตถุประสงค์ในการนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้เพื่ออะไร 2. กำหนดสิทธิและหน้าที่รวมถึงอำนาจในการเก็บรวบรวมใช้หรือเปิดเผยข้อมูลข่าวสารราชการ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจจะถูกรวมอยู่ด้วย เมื่อทราบแล้วว่าใครมีหน้าที่อย่างไร มีสิทธิเข้าถึงได้มากน้อยแค่ไหน และ 3. สามารถเปิดเผยข้อมูลใดได้บ้าง กล่าวคือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกรวมอยู่ในข้อมูลข่าวสารราชการ หากมีความจำเป็นต้องเปิดเผย ควรมีการลบ ตัดทอน หรือแก้ไขข้อมูลดังกล่าว โดยอาจจะใช้วิธีลดขนาดข้อมูล หรือทำให้เป็นข้อมูลนิรนาม (Anonymization) หรือเป็นการแฝงข้อมูล (Pseudonymization) 5. กำหนดความเสี่ยงสำหรับการเปิดเผยข้อมูลว่าข้อมูลประเภทแต่ละประเภท มีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด จากนั้นก็ใช้ 6. มาตรการในการบริหารจัดการเข้ามาดูแลในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างเหมาะสม ขณะเดียวกัน 7. เจ้าหน้าที่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลควรจะได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาความรู้ ทบทวนหน้าที่และขอบเขตงานของตนตลอดเวลา และ 8. ควรมีการประเมินผลการดำเนินงานว่าการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวมีประโยชน์และประสิทธิภาพต่อสาธารณชนและปัจเจกชนมากน้อยเพียงใด เป็นต้น
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สนขุนทด, ศุทธิกานต์, "การสร้างสมดุลระหว่างการเปิดเผยข้อมูลหน่วยงานของรัฐของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กับการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 8253.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/8253