Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The creation of a dance from Sukhothai Historical Park’s site-specific
Year (A.D.)
2022
Document Type
Thesis
First Advisor
นราพงษ์ จรัสศรี
Faculty/College
Faculty of Fine and Applied Arts (คณะศิลปกรรมศาสตร์)
Degree Name
ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
ศิลปกรรมศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2022.924
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากการแสดงเฉพาะที่ ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย วัดช้างล้อม โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ สื่อสารสนเทศ การสังเกตการณ์ การสัมมนา ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย และเกณฑ์การสร้างมาตรฐานในการยกย่องบุคคลต้นแบบทางด้านนาฏยศิลป์ นำข้อมูลมาตรวจสอบ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ตามกระบวนการที่กำหนดไว้ ผลการวิจัยพบว่าการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากการแสดงฉพาะที่ ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มีรูปแบบในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ทั้งสิ้น 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การเลือกพื้นที่ที่ใช้ในการนำเสนอ คือ วัดช้างล้อมณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ประกอบไปด้วย ระเบียงคด เจดีย์ และวิหาร 2) บทการแสดง แบ่งออกเป็น 5 องก์ ได้แก่ องก์ที่ 1 อารัมภบท (Overture) องก์ที่ 2 สำรวจ (Explore) องก์ที่ 3 ประทับใจ (Impress) องก์ที่ 4 แสดงออก (Express) และองก์ที่ 5 สรุป (Conclusion) 3) ลีลานาฏยศิลป์แสดงออกผ่านลีลาการเคลื่อนไหวที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (Everyday Movement) และการด้นสด (Improvisation) 4) ผู้วิจัยคัดเลือกนักแสดงที่มีทักษะนาฏยศิลป์ไทยและนาฏยศิลป์ร่วมสมัย 5) เครื่องแต่งกายให้ความสำคัญกับรูปแบบที่เรียบง่าย มีความกลมกลืนกับพื้นที่ ออกแบบในรูปแบบที่ไม่เจาะจงเพศ 6) เสียงและดนตรีประกอบการแสดงได้แก่ เสียงธรรมชาติ และดนตรีที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ และ 7) แสงที่ใช้ประกอบการแสดง ใช้แสงธรรมชาติ เรียงตามลำดับจากองก์ 2-5 เป็นแสงในช่วงเวลา บ่าย เย็น เช้า สาย นอกจากนี้ผู้วิจัยยังหาแนวคิดที่ได้หลังการแสดงที่ต้องคำนึงถึง 5 ประการ ได้แก่ 1) สถานที่และโบราณสถาน ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 2) ความคิดสร้างสรรค์ในงานนาฏยศิลป์ 3) การออกแบบพื้นที่ 4) ความเรียบง่ายตามแนวคิดหลังสมัยใหม่ 5) แนวคิดทฤษฎีทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการทดลองสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยศิลป์ที่บูรณาการองค์ความรู้กับศาสตร์ด้านโบราณคดีและสถาปัตยกรรม ซึ่งสามารถเป็นแนวทางให้กับผู้ที่สนใจศึกษาการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เฉพาะที่ในอนาคตต่อไป
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This thesis “THE CREATION OF A DANCE FROM SUKHOTHAI HISTORICAL PARK’S SITE-SPECIFIC” aims to explore the form and concept retrieved from the creation of a dance from Wat Chang Lom, Sukhothai Historical Park’s site specific. The thesis employs the mixed-method research methodology consisting of a qualitative research and creative research of which data was collected from academic documents, interview, information media, observation, seminars, the researcher’s own experiences, and artist standard criteria. Bring the data to examine, analyze, synthesize, and create the dance according to the specified process. The result shows that the style of the creation of a dance from Sukhothai Historical Park’s site specific consists of 7 elements in the performance which are 1) the performing area is Wat Chang Lom in Sukhothai Historical Park’s area consisting of cloister, Cetiya and Vihara 2) Script separated into 5 acts, act 1 Overture, act 2 Explore, act 3 Impress, act 4 Express and act 5 Conclusion. 3) The movements are expressed through everyday movement and improvisation. 4) The researcher selects actors with Thai tradition dance and modern dance’s skills. 5) The costumes focus on simplicity in shape and color that harmony to Sukhothai Historical Park’s characters and in unisex style of fashion design. 6) Sounds are used in the performance, which are natural sounds and new composition by synthesized sounds. 7) The light accompanied the performance is used day light set in order from act 2-5 were afternoon, evening, early in the morning and late in the morning. The concept gained from the creation of this dance emphasizes 5significant issues: 1) Sukhothai Historical Park’s site specific 2) Creativity in dance 3) Performing space organization 4) Simplicity as in post-modern dance concepts 5) Fine art and architecture theories. This research is a creative thesis by experiment in dance that connects knowledge in the fields of archeology and architecture and can be a guideline for those who will create dance in the field of site specific in the future.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
โตอวยพร, อุบลวรรณ, "การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากการแสดงเฉพาะที่ ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 6634.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/6634