Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2022
Document Type
Independent Study
First Advisor
ทัชมัย ฤกษะสุต
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2022.149
Abstract
จากการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศและการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติ ซึ่งในทางศุลกากร ธุรกรรมการซื้อขายระหว่างกันของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติดังกล่าว เข้าข่ายเป็นธุรกรรมการซื้อขายที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีความสัมพันธ์กัน ที่อาจเป็นมูลเหตุให้ไม่สามารถรับราคาศุลกากรตามวิธีการกำหนดราคาศุลกากรวิธีที่ 1 ราคาซื้อขายของที่นำเข้าได้ เนื่องจากราคาซื้อขายระหว่างกันดังกล่าว อาจมีความแตกต่างจากราคาซื้อขายกับคู่สัญญาอื่นๆ ที่เป็นอิสระต่อกัน เพื่อรองรับแนวโน้มรูปแบบการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติที่เพิ่มมากขึ้นดังกล่าว WCO โดยความร่วมมือจาก OECD จึงได้ตีพิมพ์คู่มือ WCO Guide to Customs Valuation and Transfer Pricing ขึ้น โดยสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากเอกสาร Transfer Pricing Study เอกสาร Transfer Pricing Documentation เอกสาร Advance Pricing Arrangement (APA) หรือเอกสารราคาโอนนอื่นใดที่ระบุถึงรูปแบบความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย มาใช้ประกอบการตรวจสอบสภาพแวดล้อมการขาย ก่อนพิจารณากำหนดราคาศุลกากร พร้อมทั้งสนับสนุนให้หน่วยงานศุลกากรนำกลไกเรื่องการวินิจฉัยราคาศุลกากรล่วงหน้า (Advance Ruling on Customs Valuation) มาใช้ในกรณีธุรกรรมที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ได้นำแนวทางของคู่มือดังกล่าวมาใช้กับการกำหนดราคาศุลกากร จากการศึกษาแนวทางการนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากเอกสารที่เกี่ยวข้องด้านราคาโอน มาใช้ประกอบการกำหนดราคาศุลกากรของสหราชอาณาจักร ประเทศแคนาดา ประเทศออสเตรเลีย สาธารณรัฐเกาหลี และสาธารณรัฐประชาชนจีน พบว่า แม้แนวทางการนำมาประยุกต์ใช้ของแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกันไป แต่มีข้อสังเกตว่า ทุกประเทศต่างมีจุดร่วมที่เหมือนกันคือ การมีข้อกฎหมายหรือแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยในกรณีของสหราชอาณาจักร และประเทศแคนนาดา มีการยอมให้กลุ่มบรรษัทข้ามชาติสามารถนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากเอกสารด้านราคาโอนมาใช้ในการประกอบการสำแดงราคาศุลกากรได้ กรณีของประเทศออสเตรเลีย และสาธารณรัฐเกาหลี มีการยอมให้กลุ่มบรรษัทข้ามชาติสามารถนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากเอกสารด้านราคาโอนมาใช้ประกอบการขอรับคำวินิจฉัยราคาล่วงหน้าได้ และในกรณีของสาธารณรัฐประชาชนจีนมีการยอมให้กลุ่มบรรษัทข้ามชาติสามารถนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากเอกสารด้านราคาโอนมาใช้ได้ทั้งในการประกอบการสำแดงราคาศุลกากรและการใช้ประกอบการขอรับคำวินิจฉัยราคาล่วงหน้า สำหรับกรณีของประเทศไทย ผู้ศึกษาเห็นควรให้มีการออกแนวปฏิบัติหรือเพิ่มถ้อยความยอมรับ ในกฎหมาย โดยการออกประกาศกรมศุลกากรฉบับใหม่ ที่มีสาระสำคัญว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างราคาศุลกากรและราคาโอน และการให้การยอมรับการนำเอกสารที่เกี่ยวข้องด้านราคาโอนมาใช้ประกอบการพิจารณากำหนดราคาศุลกากร และเห็นควรให้มีการปรับถ้อยความในแบบคำร้องขอให้กำหนดราคาศุลกากรล่วงหน้า ของประกาศกรมศุลกากรที่ 17/2561 ให้มีการเพิ่มข้อความ “เอกสารที่เกี่ยวข้องด้านราคาโอน” เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารที่มีความจำเป็นต่อการกำหนดราคาศุลกากรล่วงหน้า กรณีที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีความสัมพันธ์กัน อีกทั้งเห็นควรให้มีการจัดทำโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานศุลกากรและสรรพากร ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาศุลกากรและราคาโอนล่วงหน้า ในรูปแบบกระบวนการปรึกษาหารือร่วมกันสามฝ่ายร่วมกับผู้นำเข้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประเมินราคาศุลกากร ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติ รวมทั้งเป็นไปตามหลักการจัดเก็บภาษีอากรที่ดี
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ธีระพงศ์ภูเบศ, ธันยนันท์, "แนวทางการนำข้อมูลด้านราคาโอนมาใช้ประโยชน์ในทางศุลกากร กรณีการกำหนดราคาศุลกากรในธุรกรรมของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติ" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 8231.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/8231