Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2022
Document Type
Independent Study
First Advisor
ศารทูล สันติวาสะ
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2022.164
Abstract
เอกัตฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาปัญหาในการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 อันเนื่องมาจากสาระสำคัญของกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินเดิมในเรื่องของการกำหนดอำนาจหน้าที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ทำการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นแก่การประเมินฐานภาษีและกำหนดอัตราภาษี และประชาชนเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีหน้าที่ต้องแจ้งแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหากประเภทการใช้ปะโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเปลี่ยนแปลงไป ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ขั้นตอนการสำรวจและรวบรวมข้อมูลมีความสำคัญต่อการจัดเก็บภาษีเป็นอย่างมาก ความเป็นปัจจุบัน เที่ยงตรงและครบถ้วนของข้อมูลที่ได้จะเป็นตัวแปรในการประเมินฐานภาษีและกำหนดอัตราภาษี มีผลโดยตรงต่อการะจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย จากการศึกษากฎหมายและสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานจริงในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลเมืองแม่เหียะ จังหวัดเชียงใหม่ ถึงกระบวนการปฏิบัติการรวบรวมข้อมูลและการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พบปัญหาอยู่ 3 ประการคือ ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นในกระบวนการนอกเหนือตัวองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัญหาในคุณสมบัติ ประสบการณ์และความพร้อมของเจ้าหน้าที่สำรวจ ปัญหาการขาดกระบวนการอื่นที่นำมาปฏิบัติร่วมเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลจำเป็นที่เที่ยงตรงต่อการประเมินฐานภาษี และเมื่อนำมาเปรียบกับกฎหมายและกระบวนการปฏิบัติของมลรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีส่วนสาระสำคัญในกระบวนการที่เหมือนกับประเทศไทย แต่แตกต่างออกไปในบางรายละเอียดที่ดีกว่า สรุปเป็นข้อเสนอแนะ ดังนี้ ก) การบังคับใช้กฎหมายต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นนอกเหนือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรกำหนดให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของในกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีหน้าที่ต้องแจ้งรายการที่ตนครอบครองตั้งแต่ได้รับกรรมสิทธิ์นั้นเนื่องจากเจ้าหน้าที่จะสามารถตรวจสอบความครบถ้วนได้จากฐานข้อมูล และทำข้อตกลงในช่องทางการรับแจ้งผลการประเมินให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการแอบอ้างอย่างไม่มีหลักฐานเพื่อหลีกเลี่ยงการประเมินภาษี ข) กำหนดให้มีการนำกระบวนการอื่นมาปฏิบัติร่วม เพื่อสนับสนุนการรวบรวมข้อมูลและสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือการรวมฐานข้อมูลไว้ที่ศูนย์กลางในส่วนของข้อมูลเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความเป็นเจ้าของในกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การจดทะเบียนการค้าหรือบริษัทให้ได้ข้อมูลในแง่ของประเภทการใช้ประโยชน์ เพื่อให้องค์กรท้องถิ่นสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบันได้โดยตรง ไม่ต้องขอร่วมมือจากองค์กรอื่น สามารถใช้เป็นฐานข้อมูลในการตรวจสอบความครบถ้วนและการปฏิบัติตามกฎหมายของประชาชนหากไม่เข้ามาแจ้งความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใดๆ ค) กำหนดถึงคุณสมบัติและประสบการณ์ขั้นต่ำสำหรับผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานสำรวจ เนื่องจากพนักงานสำรวจถือเป็นบุคากรสำคัญในการปฏิบัติกระบวนการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินภาษีนี้
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ธีรลักสน์, รัชญา, "ปัญหาการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อประเมินภาษี ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 8246.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/8246