Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Evaluation of Tambon Smart Team project : a case study of Phra Nakhon Si Ayutthaya district, Phra Nakhon Si Ayutthaya province and Lam Thap district, Krabi province

Year (A.D.)

2021

Document Type

Independent Study

First Advisor

ปกรณ์ ศิริประกอบ

Faculty/College

Faculty of Political Science (คณะรัฐศาสตร์)

Department (if any)

Department of Public Administration (ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์)

Degree Name

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

รัฐประศาสนศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.IS.2021.410

Abstract

การศึกษาวิจัยเรื่อง การประเมินผลโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ (Tambon Smart Team) กรณีศึกษา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาว่าโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการสามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้มากน้อยเพียงใด (2) ศึกษาปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ และ (3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดทำโครงการจ้างงานหรือโครงการที่มีลักษณะใกล้เคียงกันในอนาคตให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การศึกษาวิจัยดังกล่าวใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model เป็นกรอบแนวคิดหลักในการประเมินผลโครงการซึ่งกำหนดรูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ข้าราชการสังกัดกรมการปกครองทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ประกอบด้วย นายอำเภอ ปลัดอำเภอ และเจ้าพนักงานปกครอง จำนวน 5 คน และลูกจ้างเหมาบริการโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ จำนวน 12 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 17 คน ผลการศึกษา สามารถสรุปผลได้ ดังนี้ 1. จากการประเมินผลโครงการตามวัตถุประสงค์ของโครงการทั้ง 3 ประการ พบว่า (1) โครงการสามารถกระตุ้นการบริโภคได้น้อย เนื่องจากเป็นโครงการจ้างงานระยะสั้น โดยจ้างงานตำบลละ 2 คน และจ้างงานเพียง 12 เดือนเท่านั้น (2) ฐานข้อมูล Database เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลหลากหลายด้านของแต่ละหมู่บ้าน ตำบล มารวมไว้ในฐานข้อมูลเดียว ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับใช้เป็นข้อมูลตั้งต้นในการจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ได้เป็นอย่างดี โดยปัจจัยด้านบริบทของโครงการ คือ ความพร้อมบุคลากรของกรมการปกครองเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การจัดทำฐานข้อมูล Database ประสบความสำเร็จ (3) เรื่องการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและการพัฒนาพื้นที่ พบว่า โครงการสามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ โดยผ่านปัจจัยนำเข้าของโครงการ คือ ลูกจ้างโครงการ ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนอำเภอในการนำนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล และกรมการปกครอง ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ไปปฏิบัติในพื้นที่ 2. ปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินโครงการ สามารถแบ่งปัญหาที่พบออกเป็น 2 ลักษณะ คือ (1) ปัญหาที่พบในอำเภอขนาดใหญ่ ได้แก่ งบประมาณสำหรับดำเนินโครงการของอำเภอมีไม่เพียงพอ จำนวนบุคลากรของอำเภอมีไม่เหมาะสมกับจำนวนลูกจ้างและปัญหาการปฏิบัติงานของลูกจ้างในเขตชุมชนที่ไม่มีกำนันผู้ใหญ่บ้าน (2) ปัญหาที่พบในอำเภอขนาดเล็ก ได้แก่ ปัญหาสัญญาณอินเตอร์เน็ตและ GPS มีไม่ครอบคลุมในพื้นที่ และปัญหาเรื่องการเข้าใช้งานระบบการจัดเก็บข้อมูล

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This study on evaluation of Tambon Smart Team project: A case study of Phra Nakhon Si Ayutthaya district, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province and Lamthap district, Krabi Province aims to (1) examine the extent to which the project achieves its objectives (2) identify problems and obstacles to implement the project and (3) formulate policy recommendations for improving and developing future employment or similar projects to make them more effective. The analysis is carried out in this study using the CIPP Model, which is a project evaluation model. The author uses qualitative research methodology to conduct in-depth interviews with government officials from the Department of Provincial Administration. A total of 12 important informants from central and regional administration, including 5 Chief District Officers, Assistant Chief District Officers, and Governing Officers, as well as 12 Contractual Employees, are interviewed Summary of findings are as follows: 1. The evaluation of the project has discovered three important findings, (1) The study discovered that because the initiative hired two employees per sub-district for only a 12-month fixed-term contract, the project then can only slightly stimulate the consumption in the districts. (2) The database is a single cumulative collection of various aspects of information of each village and sub-district. As a result, it can be used as a primary source of information in the preparation of an area development plan. This study concludes that the contextual factor, namely, the readiness of employees of Department of Provincial Administration is an important factor constituting the successful database. (3) The project was found to be able to meet the aforementioned objectives in terms of promoting public participation in problem solving and area development owing to contractual employees as project input. They acted as a policy advocate for the districts by putting government and the department policies into action. 2. There are two types of issues and obstacles in the way of completing the project: (1) In large districts, problems include a lack of funding for project execution, a staffing mismatch between Assistant Chief District Officers and contractual project employees, and the district in which there are no village and sub-district headmen. (2) In small districts, Internet signal problems, limited GPS coverage in the area, and database access issues were significant issues.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.