Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Consumers’ exposure, brand image and purchase intention towards advertising represented vulnerable people
Year (A.D.)
2021
Document Type
Independent Study
First Advisor
พนม คลี่ฉายา
Faculty/College
Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิเทศศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.IS.2021.322
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสำรวจการเปิดรับ ภาพลักษณ์ตราสินค้า และความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ในภาพยนตร์โฆษณาที่นำเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบางของผู้บริโภค 2) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับ ภาพลักษณ์ตราสินค้า และความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ในภาพยนตร์โฆษณาที่นำเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบางของผู้บริโภค โดยเป็นการวิจัยนำร่องเชิงปริมาณ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ และมีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 18 – 60 ปีขึ้นไป จำนวน 200 คน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างเปิดรับภาพยนตร์โฆษณาที่นำเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบางผ่านช่องทางต่าง ๆ รวมอยู่ในระดับเปิดรับเป็นบางครั้ง โดยเปิดรับทั้งในช่องทางสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่ กลุ่มตัวอย่างมีภาพลักษณ์ตราสินค้าที่นำเสนอผ่านภาพยนตร์โฆษณาเกี่ยวกับประเด็นกลุ่มเปราะบางโดยรวมอยู่ในระดับภาพลักษณ์เป็นกลาง และกลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจซื้อตราสินค้าที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์โฆษณาที่นำเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบางโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) การเปิดรับภาพยนตร์โฆษณาที่นำเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบาง มีความสัมพันธ์กับ ภาพลักษณ์ตราสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ระดับต่ำ ในทิศทางแปรตามกัน 2) การเปิดรับภาพยนตร์โฆษณาที่นำเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบาง มีความสัมพันธ์กับ ความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ระดับต่ำ ในทิศทางแปรตามกัน 3) ภาพลักษณ์ตราสินค้าในภาพยนตร์โฆษณาที่นำเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบาง มีความสัมพันธ์กับ ความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ระดับค่อนข้างสูง ในทิศทางแปรตามกัน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objectives of this research are to explore that: 1) To explore customers’ exposure brand image and purchase intention towards advertising presented vulnerable people. 2) To explain the correlation between brand image and purchase intention towards advertising presented vulnerable people. This pilot research is based on a survey method using a questionnaire to collect data from 200 samples of consumers whose age 18 to 60 years old or above. The result of this study revealed that consumers’ exposure towards advertising presented vulnerable people through various channels was generally at the level of sometimes both in traditional media and new media. Consumers’ brand image towards advertising presented vulnerable people at moderate level. And also their purchase intention towards advertising presented vulnerable people at moderate level. The result of hypothesis testing showed that customers’ exposure towards advertising presented vulnerable people correlates with brand image at the significance .01, which is a low level. Customers’ exposure towards advertising presented vulnerable people correlates with purchase intention at the significance .01, which is a low level. And brand image of advertising presented vulnerable people correlates with consumers’ purchase intention at the significance .01, which is rather high level.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
โพธิ์สุวรรณ์, นสวรรณร์, "การเปิดรับ ภาพลักษณ์ตราสินค้า และความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ในภาพยนตร์โฆษณาที่นําเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบางของผู้บริโภค" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 7938.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7938