Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Using nudge theory in analyzing forms and content of COVID-19 in CU NEX application and attitudes of Chulalongkorn University's students
Year (A.D.)
2021
Document Type
Independent Study
First Advisor
ปาริชาต สถาปิตานนท์
Faculty/College
Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิเทศศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.IS.2021.318
Abstract
การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1.) รูปแบบและเนื้อหาเพื่อการสื่อสารเกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 ของแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์ในกรอบของทฤษฎีสะกิด 2.) ทัศนคติของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์ ในฐานะเครื่องมือสื่อสารในการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจฉีดวัคซีนโควิด 19 โดยเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก กับบุคคล 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้พัฒนาและออกแบบแอปพลิเคชัน และ กลุ่มผู้ใช้งานแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์ ซึ่งใช้งานแอปพลิเคชันยูเน็กซ์และเข้าถึงประกาศและข่าวสารประชาสัมพันธ์ผ่านแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์ ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบและเนื้อหาเพื่อการสื่อสารของแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์แบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ 1) รูปแบบในการสื่อสารที่ปรากฎ ประกอบด้วย 1.1) ข่าวสารและประชาสัมพันธ์ คือ Icon และ Banner ที่ภาพประกอบกับเนื้อหาข้อความ 1.2) การแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์ 2) เนื้อหา ประกอบด้วย 2.1) ข้อมูลที่เป็นเนื้อหาส่งโดยตรงจากส่วนกลางทั้งหมดจากกิจการนิสิตแต่ละคณะ 2.2) เนื้อหาที่ส่งผ่าน CU NEX Club 2.3) เนื้อหาที่มีการย่อยทำให้เข้าใจง่ายและเป็นกันเองกับผู้ใช้งาน พบว่าการสะกิดกระตุ้นให้นิสิตจุฬาลงกรณ์เข้ารับบริการฉีดวัคซีนผ่านแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์เป็นในทางที่คาดหวังได้โดยไม่มีการบังคับ 2. ทัศนคติต่อแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์ ในฐานะเครื่องมือสื่อสารในการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจฉีดวัคซีนโควิด 19 พบว่า 1) ก่อนการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนผ่านแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์มีความกังวลใจเกี่ยวกับข้อมูลของการฉีดวัคซีน และส่วนใหญ่ไม่กังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายวัคซีนที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากมองว่าเป็นสิทธิ์พื้นฐานที่ควรได้รับ แต่จะมีความกังวลเกี่ยวกับปฏิกิริยาอาการหลังฉีดวัคซีนเข้าสู่ร่างกาย 2) ด้านทัศนคติต่อแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์ 2.1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับความง่ายและสะดวกต่อการจองวัคซีนในแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์ส่วนใหญ่พบว่า แอปพลิเคชันซียูเน็กซ์สามารถเข้าถึงได้ง่ายและมีความสะดวก รวดเร็ว มีข่าวสารและรายละเอียดการลงทะเบียนและการรับวัคซีนครบถ้วน และง่ายต่อการใช้งาน 2.2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานที่ที่จัดให้บริการรับวัคซีนจากการโดยเลือกในแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์ ส่วนใหญ่เห็นว่า เป็นสถานที่ที่มีความสะดวก และคุ้นเคยกับตัวนิสิต ไม่ต้องเดินทางไปสถานที่อื่น 2.3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการของแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์ ส่วนใหญ่เห็นว่า เป็นบริการที่ดีที่สามารถเป็นตัวกลางระหว่างมหาวิทยาลัยกับนิสิต รวมไปถึงหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีความรวดเร็วในการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์เรื่องราวต่างๆ ที่จำเป็น 2.4) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้คำแนะนำในแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์ ส่วนใหญ่เห็นว่า มีความน่าเชื่อถือ และเป็นตัวกลางในการนำเสนอข้อมูล อย่างไรก็ตามควรมีการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนของ เพิ่มลิงก์ การเข้าถึงช่องทางต่างๆ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน รวมถึงแจ้งเตือนถึงวันที่เริ่มฉีด-นับถอยหลังก่อนหมดเขตการฉีดวัคซีน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objectives of this research were to study 1) the format and content for communication about the COVID-19 vaccine of the CU NEX Application in the framework of Nudge Theory, 2) Chulalongkorn University students' attitudes towards the CU NEX Application as a tool for communication to support decisions about vaccination against COVID-19. The instruments for this research were in-depth interviews with two groups of people, totaling 11 people including the application developer and designer group, and the CU NEX Application user group who have used this application and have seen announcements as well as press releases through the CU NEX Application. The research results showed that: 1. The format and content for communication of the CU NEX Application is divided into two parts: 1) the appearing communication format consisted of 1.1) news and information, which are Icons and Banners that are illustrated with the message contents, 1.2) notifications via the CU NEX Application; 2) the content consisted of 2.1) the information sent directly from the center of the Student Affairs in each faculty, 2.2) the content delivered through the centralized CU NEX Club, 2.3) the digested and edited contents are easily understandable and user-friendly. It was found that the nudging approach stimulated Chulalongkorn students to receive vaccination services through CU NEX Application which is in a way that can be expected without forcing. 2) In terms of the attitudes towards the CU NEX Application as a tool for communication to support decisions about vaccination against COVID-19, it revealed that: 1) before receiving vaccination via CU NEX Application, most of the informants were worried about the information of vaccination, but they had no concerns about the vaccine cost as they viewed that it is a fundamental right that should be earned. However, they were worried about the reaction after vaccination. 2) In the aspect of the attitudes towards the CU NEX Application, 2.1) regarding the most of informants’ opinions on the ease of booking or access to vaccines in the CUNEX Application, CUNEX Application is easily accessible and convenient, fast, informative with complete details of registration and vaccination and easy to use. 2.2) Regarding the comments on the place served by using CUNEX Application, most of the informants commented that they are familiar with the place which is convenient for them, and no need to go to other places. 2.3) Regarding the comments on the service of the CU NEX Application, most of the informants commented that it is a good service which can be an intermediary between the university and students including other related agencies with the speedy communication as well as giving essential information. 2.4) Regarding the opinions on recommendations in the CU NEX Application, most of the informants commented that they are reliable, and they are as an intermediary for presenting information. However, the information should be added in the Add Links, additional access to various channels, Frequently Asked Questions about vaccinations including notification of the start date - countdown before the deadline for vaccination.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สุวรรณจินดา, นัทธี, "การใช้ทฤษฎีสะกิดในการวิเคราะห์รูปแบบและเนื้อหาเกี่ยวกับโควิด 19 ในแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์และทัศนคติของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 7934.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7934