Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The womenswear branding innovation of luxury partywear for modern ethical millennials consumers by using knitting technique from zero waste concept
Year (A.D.)
2021
Document Type
Independent Study
First Advisor
อรรถพนธ์ พงษ์เลาหพันธุ์
Faculty/College
Faculty of Fine and Applied Arts (คณะศิลปกรรมศาสตร์)
Department (if any)
Department of Creative Arts (ภาควิชานฤมิตศิลป์)
Degree Name
ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นฤมิตศิลป์
DOI
10.58837/CHULA.IS.2021.307
Abstract
จากปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกในปัจจุบัน ทำให้ผู้บริโภครุ่นใหม่มีแนวโน้มการความสนใจและพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป โดยกลุ่มคนในช่วงอายุ 25-40 ปีหรือมิลเลนเนียลเจนเนอร์เรชัน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้ มีการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและสนใจถึงที่มาทางด้านจริยธรรมของสินค้าที่ใช้มากขึ้น ว่าเป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวมหรือไม่ ไม่ใช่เพียงแต่เรื่องของสีหรือรูปแบบเสื้อผ้าเหมือนที่ผ่านมาเท่านั้น ก่อให้เกิดกลุ่มเป้าหมายใหม่ ได้แก่ กลุ่ม โมเดิร์นเอธิคอลมิลเลนเนียล (Modern Ethical Millennials Consumers) ซึ่งเป็นผู้บริโภคที่นำเอาแนวคิดการบริโภคอย่างยั่งยืนมาเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าแฟชั่น จากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย 6 คน ผู้ถูกสัมภาษณ์จำนวน 5 คน ให้ความเห็นว่า ในประเทศไทยมีตราสินค้าเครื่องแต่งกายทางเลือกที่ออกแบบด้วยแนวคิดความยั่งยืนน้อยมาก เมื่อต้องเลือกเครื่องแต่งกายสำหรับไปงานเลี้ยงสังสรรค์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังมีทางเลือกไม่มากในการเลือกเครื่องแต่งกายในโอกาสงานเลี้ยงสังสรรค์ ทั้งในด้านของวัสดุ ด้านการออกแบบ และด้านโอกาสการใช้สอย ทั้งนี้จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเพิ่มเติมพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสนใจกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มาจากขยะและการจัดการขยะอย่างมาก เนื่องจากเป็นปัญหาที่พบเห็นได้ใกล้ตัว ดังนั้นการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยแนวคิดไร้เศษ หรือการออกแบบโดยยึดเอาแนวทางการลดขยะให้เหลือศูนย์ เพื่อเป็นการหยุดปัญหาตั้งแต่ต้นทาง จึงนับเป็นแนวทางการแก้ปัญหาการออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ้าที่ได้จากการถัก (Knitting) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในแนวคิดการออกแบบแฟชั่นแบบไร้เศษ แต่ปัจจุบันมีการนำมาใช้ในการสร้างชิ้นงานแฟชั่น ลักซ์ชัวรี่ปาร์ตี้แวร์ (Luxury Partywear) ไม่มากนัก งานวิจัยนี้จึงเป็นทางเลือกทางการตลาดที่ผู้วิจัยพบว่า หากมีการพัฒนากระบวนการออกแบบลักซ์ชัวรี่ปาร์ตี้แวร์ (Luxury Partywear) จากการถัก (Knitting) จะส่งผลให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อสินค้าเพิ่มมากขึ้น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
According to the global climate impact in the present day, there is a significant change in the lifestyle and consumption trend of the younger generation (age range of 25-40 years old or the so-called “millennial generation”). By having incomes and abilities to choose what they desire for their lives, people in this generation tend to have strong core values in environmental conservation and ethical business, unlike the trend in the past that factored only colors, patterns or silhouettes of clothes. Such an emerging lifestyle engenders a new fashion target group called “Modern Millennials Consumers” that applies the concept of sustainable consumption in the selection of fashion products. From the interview of the target group, five out of six people have a consensus that Thailand does not provide much to no option for sustainable fashion in the terms of material of clothes, design selection, and clothes occasion. The results from the survey also align with the fact that it is rarely seen for any fashion brands to produce clothes and garments with sustainable concepts for party occasion. Within the same target group, five out of six people expressed their concerns about waste issues and waste management, as people encounter these issues in their daily lives. Therefore, in fashion, zero-waste concept design is a solution that can alleviate environmental problems and clearly meet the needs of target consumers. Knitting is one of the zero-waste concepts in sustainable fashion design, but it is not widely introduced in luxury party wear design. Consequently, this is one of the interesting market opportunities that the researcher foresees. With proper development and research on luxury party wear designs starting from the knitting process, the target group of consumers will have more options to choose new clothing styles for themselves.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ไพฑูรย์รังสฤษดิ์, ปวีร์, "นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีลักซ์ชัวรี่ปาร์ตี้แวร์ สําหรับกลุ่มโมเดิร์นเอธิคอล มิลเลนเนียล จากเทคนิคการถักนิตติ้ง ด้วยแนวคิดไร้เศษ" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 7923.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7923