Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Demand forecasting and production planning: a case study of ceramics product
Year (A.D.)
2021
Document Type
Independent Study
First Advisor
สิริอร เศรษฐมานิต
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
DOI
10.58837/CHULA.IS.2021.231
Abstract
บริษัทในกรณีศึกษาใช้วิธีการวางแผนการผลิตโดยอาศัยประสบการณ์ของผู้จัดการและพนักงานฝ่ายดูแลสินค้าคงคลังซึ่งส่งผลให้สินค้าในบางช่วงเวลาขาดแคลน ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนแผนการผลิตแบบฉับพลัน ส่งผลกระทบต่อสายการผลิต ทำให้ต้องหยุดเครื่องจักรเพื่อตั้งค่าใหม่ เสียโอกาสในการผลิตสินค้า และอัตราส่วนสินค้าที่ได้มาตรฐานจะลดลงจากค่าเฉลี่ย หรือบางครั้งก็เกิดปัญหาสินค้าคงคลังมีมากเกินความต้องการ เกิดค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าคงคลังเพิ่มเติม และยังทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงขึ้นจากปกติ งานวิจัยชิ้นนี้จึงต้องการที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้การพยากรณ์ยอดขายสินค้าเข้ามาช่วยในการปรับปรุงแผนการผลิต เพื่อให้มีความแม่นยำและสอดคล้องกับคำสั่งซื้อจริงที่เกิดขึ้นให้มากที่สุด งานวิจัยชิ้นนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลยอดขายย้อนหลังเป็นเวลา 36 เดือน โดยที่ใช้ข้อมูล 24 เดือนแรกในการหาตัวแบบการพยากรณ์ที่เหมาะสม และใช้ข้อมูลอีก 12 เดือนที่เหลือในการวัดผล ซึ่งพบว่ารูปแบบของข้อมูลยอดขายของ 7 กลุ่มสินค้าหลัก มีลักษณะคงที่ ไม่มีแนวโน้มและไม่มีฤดูกาลเหมือนกันหมด จึงเลือกใช้วิธีวิธีการหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ วิธีการปรับเรียบเอกซ์โพเนนเชียลอย่างง่าย และวิธีบ็อกซ์-เจนกินส์ในการกำหนดตัวแบบที่เหมาะสมตามแต่ละกลุ่มสินค้า ก่อนที่จะทำการพยากรณ์ยอดขายและวางแผนการผลิตใหม่โดยมีเป้าหมายที่จะลดจำนวนครั้งที่ต้องสั่งผลิตสินค้าต่ำกว่ากำหนด และลดจำนวนสินค้าคงคลังและค่าใช้จ่ายในส่วนสินค้าคงคลังลง ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่าแผนการผลิตใหม่ที่ใช้การพยากรณ์ยอดขายเข้ามาช่วยในการวางแผน สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของการเก็บรักษาสินค้าคงคลังโดยรวมลงเหลือ 4,188,094 บาท จากเดิม 4,646,831 บาท คิดเป็น 458,737 บาท หรือลดลง 9.87 %
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The company in the case study currently makes its production plan by relying on the experience of the managers and the inventory team. However, this strategy has resulted in product shortages at certain times, causing the production plan to change abruptly which affected the production line as the machines need to be stopped to reset the configuration. This change of plan has contributed to the loss in production opportunities, more defects in products and higher manufacturing costs than usual. In some cases, it causes the company to face an oversupply situation which has led to additional inventory costs. Therefore, the objective of this research is to solve the problem by using the sales forecasts to help improve production planning to be more accurate and as consistent to the actual sales as possible. The research collected 36 months of historical sales data and used the first 24 months of data to find an appropriate forecasting model, then utilized the remaining 12 months of data to measure the results. The study found that all the sales data of 7 main product groups have no trends nor seasons. Consequently, the Moving average method, Simple exponential smoothing method, and the Box-Jenkins method were chosen for the forecast model with the goal of reducing the less-than-optimal production case, as well as downsizing inventory and inventory costs. From the research results, the new production plan that used sales forecasts data to support the planning process was able to save inventory carrying cost by decreasing it from 4,646,831 Baht to 4,188,094 Baht which means a 458,737 Baht or 9.87% reduction from the current plan.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สินวนาทรัพย์, สุภาภรณ์, "การพยากรณ์ความต้องการเพื่อวางแผนการผลิตสินค้า : กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์เซรามิก" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 7847.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7847