Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2021
Document Type
Independent Study
First Advisor
พัฒนาพร โกวพัฒนกิจ
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายการเงินและภาษีอากร
DOI
10.58837/CHULA.IS.2021.214
Abstract
ปัจจุบันการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทประกันชีวิต ประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (1) (ก) กำหนดให้บริษัทประกันชีวิตมีสิทธินำเงินสำรองประกันภัยสำหรับสำหรับสัญญาประกันภัยระยะยาวมาหักเป็นรายจ่ายของกิจการได้ไม่เกินร้อยละ 65 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยรับสุทธิ และมาตรา 65 ตรี (1) (ข) กำหนดให้บริษัทประกันชีวิตมีสิทธินำเงินสำรองประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้นมาหักเป็นรายจ่ายของกิจการได้ไม่เกินร้อยละ 40 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยรับสุทธิ อย่างไรก็ดี ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดสรร เบี้ยประกันภัยไว้เป็นเงินสำรองประกันภัย สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังมีความผูกพันอยู่และเงินสำรองอื่นของบริษัทประกันชีวิต พ.ศ. 2554 กำหนดให้บริษัทประกันชีวิตใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์ประกันภัยใน การคำนวณมูลค่าเงินสำรองประกันภัย เพื่อวัตถุประสงค์ในการกำกับดูแลความมั่นคงทางการเงินของ บริษัทประกันชีวิต และเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทประกันชีวิตจะสามารถเงินเอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยได้อย่างครบถ้วน ความแตกต่างของหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณเงินสำรองประกันภัยตามประมวลรัษฎากรกับ หลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ส่งผลให้ในกรณีที่มูลค่าเงินสำรองประกันภัยที่คำนวณตามหลักการทางคณิตศาสตร์ประกันภัยมีมูลค่าสูงเกินกว่าอัตราที่ประมวลรัษฎากรกำหนด บริษัทประกันชีวิตจะจะต้องนำ เงินสำรองประกันภัยส่วนที่เกินดังกล่าวไปบวกกลับเป็นรายได้ของกิจการ ซึ่งส่งผลกระทบทำให้บริษัทประกันชีวิตต้องรับภาระภาษีสูงขึ้น ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงเสนอให้แก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณ เงินสำรองประกันภัยตามประมวลรัษฎากรโดยอนุญาตให้บริษัทประกันชีวิตสามารถนำเงินสำรองประกันภัยที่คำนวณตามหลักการทางคณิตศาสตร์ประกันภัยมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ทั้งจำนวน
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ฉันทาวรานุรักษ์, ธนัชพร, "ผลกระทบจากความไม่เหมาะสมของหลักเกณฑ์การคำนวณเงินสำรองประกันภัยเพื่อหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของบริษัทประกันชีวิตตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (1)" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 7830.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7830