Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2021

Document Type

Independent Study

First Advisor

มานิตย์ จุมปา

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2021.177

Abstract

เอกัตศึกษาเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอมาตรการและแนวทางในการกํากับดูแลการใช้อากาศ ยานไร้คนขับหรือโดรน เพื่อการศึกษาในแง่ของการพัฒนาระบบขนส่งในประเทศไทย พร้อมทั้งศึกษา แนวคิด ทฤษฎีและความหมายของอากาศยานไร้คนขับ โดยมีการวิเคราะห์ถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น ในทางกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่อขนส่งสินค้าในประเทศไทย โดยมีการใช้ แนวทางการกํากับดูแล และกฎเกณฑ์รวมถึงข้อบังคับต่าง ๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป เข้ามาใช้ในการเปรียบเทียบและหาแนวทางให้มีการนําอากาศยานไร้คนขับไปใช้ในการขนส่งเพื่อพัฒนา ระบบโลจิสติกส์ในประเทศไทย จากการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์และสภาพปัญหาของการใช้อากาศยานไร้คนขับใน ประเทศไทยพบว่าการนําอากาศยานไร้คนขับไปใช้ในทางพาณิชย์ หรือเพื่อการขนส่งสินค้าในระดับ B2C ยังไม่สามารถทําได้เนื่องจากพบปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้โดรนที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ของบุคคลอื่นในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่ไม่สามารถควบคุมได้ อีกทั้งยังมีปัญหาที่เกี่ยวกับการกระทบต่อสิทธิ ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นประเด็นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปเองยังคงมีการศึกษาและพัฒนาอยู่ใน ขณะนี้ ปัจจุบันในประเทศไทยก็ยังไม่มีการกําหนดแนวทางและหลักเกณฑ์ในการใช้โดรนเพื่อการขนส่ง สินค้าเป็นการเฉพาะ จึงเป็นการยากในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาการใช้โดรนเพื่อการขนส่งในประเทศ ไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ดีจากการวิเคราะห์เกี่ยวกับการกํากับดูแลการใช้โดรนเพื่อขนส่งสินค้า ในประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปก็พบว่า ยังคงมีการใช้ระบบอนุญาตในการพิจารณาให้ทําการ บินโดรนในเชิงพาณิชย์เนื่องจากโดรนยังคงเป็นเทคโนโลยีใหม่และอาจเป็นอันตรายต่อบุคคลภายนอกหาก ต้องมีการบินผ่านเขตชุมชนหรือที่พักอาศัย จึงยังคงต้องรอให้มีการพัฒนาโดรนต่อไปเพื่อการกําหนด หลักเกณฑ์ที่ชัดเจนมากขึ้นในอนาคต ข้อเสนอแนะจึงควรเริ่มต้นให้มีการใช้โดรนขนส่งสินค้าขนาดเล็กภายในเขตประกอบการของ ผู้ประกอบการที่มีกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่ของตนเอง โดยในการขออนุญาตนั้นกฎหมายจะต้องกําหนดน้ําหนักและประเภทของสินค้าที่สามารถบรรทุกไปกับตัวโดรนได้โดยโดรนสามารถแนบวัตถุสิ่งของจาก ภายนอกได้ถ้ามีการแนบวัตถุไปอย่างรัดกุมโดยจะต้องไม่ทําให้ลักษณะของการบินเปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่ง หมายถึงการแนบสินค้าหรือวัตถุไปกับโดรนนั้นจะต้องไม่เป็นภาระซึ่งส่งผลกระทบในการบินของโดรน รวมไปถึงชนิดของสินค้าต้องไม่เป็นสินค้าอันตราย

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.