Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2021

Document Type

Independent Study

First Advisor

ทัชมัย ฤกษะสุต

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2021.174

Abstract

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ มีประกาศปรับปรุงมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 เรื่องเครื่องมือทางการเงิน ซึ่งได้มีการกําหนดเงื่อนไข วิธีการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องแตกต่างไปจากมาตรฐานฉบับ เดิมที่เคยถือปฏิบัติ มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการในการจัดกลุ่มประเภทของเครื่องมือทางการเงิน กําหนดแนวทางใน การพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการประเมินมูลค่าและการตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงิน โดยมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 ได้กําหนดให้มีการจัดกลุ่มประเภทของเครื่องมือทางการเงิน อาศัย การพิจารณาจากรูปแบบธุรกิจ (Business Model) แทนการจัดกลุ่มที่พิจารณาตามวัตถุประสงค์ในการถือครอง และให้ใช้ข้อมูลจากเหตุการณ์ในอดีตร่วมกับสภาพการณ์ปัจจุบันและการพยากรณ์สภาพเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่ง แตกต่างจากเดิมที่พิจารณาแค่เพียงปัจจัยจากในอดีตจนถึงปัจจุบันเท่านั้น การนําสภาพเศรษฐกิจในอนาคตมาร่วม พิจารณานั้น ส่งผลให้เกิดการคาดการณ์ที่แม่นยําและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การรับรู้รายการจะสะท้อนถึงข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง ลดความผันผวน และความไม่แน่นอนจากการใช้ข้อมูลได้มากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงวิธีการพิจารณาดังกล่าว ได้ส่งผลต่อการ คํานวณการตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงินและทําให้การรับรู้รายได้ดอกเบี้ยซึ่งอยู่บนฐานการ คํานวณจากมูลค่าคงเหลือของเครื่องมือทางการเงินเพิ่มสูงขึ้น (รายได้ดอกเบี้ย เกิดจากการคํานวณมูลค่าของ เครื่องมือทางการเงินหักค่าเผื่อการด้อยค่าคูณอัตราดอกเบี้ย) เนื่องจากมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ได้กําหนดให้ผู้ประกอบการทบทวนความเป็นไปได้ที่จะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากเครื่องมือทางการเงินนั้นอยู่ เสมอ แม้ว่าเครื่องมือทางการเงินนั้นอาจรับรู้การด้อยค่าไปแล้วในอดีต แตกต่างจากมาตรฐานฉบับเดิมที่ไม่ได้ให้นํา เครื่องมือทางการเงินที่เคยรับรู้การด้อยค่าไปแล้วกลับมาพิจารณาใหม่ ส่งผลให้การรับรู้รายได้ดอกเบี้ยตามมูลค่าที่ เหลืออยู่ของเครื่องมือทางการเงินหลังหักค่าเผื่อการด้อยค่า ไม่สามารถรับรู้รายการได้ในทางบัญชีอีกต่อไป และ จากการศึกษาพบว่าการรับรู้รายการรายได้ดอกเบี้ยในทางบัญชีและในทางภาษีไม่ได้มีความแตกต่างกัน ดังนั้นจึง ถือได้ว่า เมื่อรายได้ดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น ย่อมส่งผลให้กิจการมีการรับรู้กําไรสุทธิเพิ่มมากขึ้น (กรณีไม่นําการ เปลี่ยนแปลงจากปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการคํานวณกําไรสุทธิทางภาษีเช่น ค่าใช้จ่าย มารวมในการพิจารณา) และ ทําให้การคํานวณภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องนําส่งแก่กรมสรรพากรนั้นเพิ่มขึ้น การปรับปรุงมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี ย่อมส่งผลต่อการรับรู้รายการของกิจการต่างๆ การนํา มาตรฐานการบัญชีไปถือปฏิบัติจึงควรเป็นไปด้วยความเข้าใจและทราบถึงผลกระทบทั้งภายในกิจการของตนและ บุคคลภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ดุลยพินิจของผู้บริหารประกอบกับข้อมูลที่เพียงพอและเชื่อถือได้ ควร กระทําด้วยความระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดหรือเกิดความคลาดเคลื่อนในการจัดทํารายการและการ นําเสนอข้อมูล

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.