Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2021

Document Type

Independent Study

First Advisor

ณรงค์เดช สรุโฆษิต

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2021.156

Abstract

ในอดีต การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุถูกกำหนดให้ส่วนราชการจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับดังกล่าวนั้นมีผลบังคับใช้กับ ส่วนราชการ ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการพัสดุโดยใช้เงินงบประมาณ เงินกู้ และเงินช่วยเหลือ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค หรือ ในต่างประเทศ เท่านั้น แต่ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ทำให้หน่วยงานที่ไม่ได้ถูกบังคับใช้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับดังกล่าวจำเป็นต้องจัดทำข้อบังคับหรือระเบียบขึ้นเองเพื่อนำไว้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับหน่วยงานของตนเอง ต่อมา พบปัญหาจากการดำเนินการจัดหาพัสดุของหน่วยงานของรัฐหลายประเด็น เช่น นักลงทุนต่างประเทศที่จะเข้ามาร่วมประมูลในโครงการของหน่วยงานของรัฐไม่มีความเชื่อมั่นในระบบการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐของประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยนั้นไม่มีการออกกฎหมายกลางที่ใช้บังคับกับหน่วยงานของรัฐทุกแห่งให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงทำให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง จัดทำร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐขึ้น โดยได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน และมีหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ตอบแบบสอบถามความเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ในเวลาต่อมาจึงเกิดพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ที่มีผลใช้บังคับวันที่ 23 สิงหาคม 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐมีหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และได้มีการออกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ โดยพระราชบัญญัติและระเบียบกระทรวงการคลังดังกล่าว ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณด้วย ทำให้รัฐวิสาหกิจนั้นเกิดความไม่คล่องตัวในการโอนพัสดุ เนื่องจากการจำกัดหน่วยงานผู้รับโอนเป็นการจำกัดที่ไม่สอดคล้องกับการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจที่ต้องดำเนินการรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียที่มากกว่าที่กฎหมายกำหนดให้ ทำให้เกิดการบริหารพัสดุที่มีอยู่อย่างไม่คุ้มค่าและไม่เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งหน่วยงานผู้โอนและผู้รับโอน ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงเห็นว่า ควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการโอนพัสดุสำหรับรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้การโอนพัสดุของรัฐวิสาหกิจมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.