Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The Development of Customs Process for Goods in Transit Through Asean
Year (A.D.)
2020
Document Type
Independent Study
First Advisor
พงศา พรชัยวิเศษกุล
Second Advisor
กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การจัดการด้านโลจิสติกส์
DOI
10.58837/CHULA.IS.2020.251
Abstract
สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปสรรคในการดำเนินกระบวนการศุลกากรผ่านแดนภายใต้ระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าร่วมโครงการนำร่องระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน และแนวทางในการพัฒนากระบวนการศุลกากรผ่านแดนอาเซียน เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการที่ได้ลงทะเบียนเป็นผู้ขอผ่านแดนในระบบทะเบียนผู้มาติดต่อของกรมศุลกากร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลของการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมโครงการนำร่องระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน ได้แก่ 1) ความยุ่งยากในกระบวนการจัดทำหรือส่งคืนใบขนสินค้าชนิดพิเศษสำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสินค้าผ่านแดนในการดำเนินพิธีการศุลกากรผ่านแดนขาออก ซึ่งกระบวนการดังกล่าวไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกระบวนการศุลกากรผ่านแดน 2) การแสดงผลของสถานะใบขนสินค้าผ่านแดนอาเซียนสามารถแสดงผลได้อย่างเป็นปัจจุบัน โดยปัจจัยดังกล่าวเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมกระบวนการศุลกากรผ่านแดนภายใต้ระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน และ 3) ความยุ่งยากในการแก้ไขข้อมูลในใบขนสินค้าผ่านแดนอาเซียนผ่านระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการศุลกากรผ่านแดนภายใต้ระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน นอกจากนี้ มีข้อเสนอแนะจากการศึกษา ดังนี้ 1) ปรับลดระเบียบและขั้นตอนในการดำเนินกระบวนการศุลกากรผ่านแดน 2) ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียนมากขึ้น 3) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ และ 4) ประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐมากขึ้น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This research aimed to study the barriers of customs transit procedures subject to the ASEAN Customs Transit Systems (ACTS), factors affecting the decision making to participate in the ACTS Pilot and the development of customs operations for goods in transit through ASEAN. Online questionnaires were used as research instrument to collect data from the transit operators who registered in the Customs Registration Systems. The data were analyzed using descriptive statistics including frequency, percentage, mean and standard deviation and inferential statistics which is multiple regression analysis. This research found that factors affecting the decision making to participate in the ACTS Pilot were 1) the difficulty of submitting a Customs transit declaration for conveyance during the outbound customs transit operations which not be a barrier factor for customs transit procedures 2) the customs transit declaration status is immediately displayed which is a promoting factor for the ACTS and 3) the difficulty of the information editing for the customs transit declaration which is a barrier factor for the ACTS. Moreover, it is recommended that Thai Customs Department should 1) reduce the Customs transit rules and procedures 2) do more public relation about the ACTS 3) develop an IT system for the facilitation and 4) do more coordination among government agencies.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
โจลัตสาห์กุล, นารถฤดี, "แนวทางการพัฒนากระบวนการศุลกากรสำหรับสินค้าผ่านแดนอาเซียน" (2020). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 7322.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7322