Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

A study of conceptual metaphor translation in cosmetic advertising texts on websites from English into Thai

Year (A.D.)

2020

Document Type

Independent Study

First Advisor

ทองทิพย์ พูลลาภ

Faculty/College

Faculty of Arts (คณะอักษรศาสตร์)

Degree Name

อักษรศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การแปลและการล่าม

DOI

10.58837/CHULA.IS.2020.212

Abstract

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในตัวบทโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง รวมถึงศึกษากลวิธีการถ่ายทอดอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์จากต้นฉบับไปยังฉบับแปล การวิจัยนี้รวบรวมข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในกลุ่มผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและเครื่องสำอางสำหรับตกแต่งทั้งหมด 240 ผลิตภัณฑ์จากเว็บไซต์ตราสินค้าที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผู้วิจัยศึกษาแนวคิดอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ตามแนวภาษาศาสตร์ปริชานของ Lakoff และ Johnson (2003) แนวทางการระบุรูปภาษาแสดงอุปลักษณ์จากกลุ่มนักวิชาการ Pragglejaz Group (2007) และการจัดประเภทกลุ่มคำศัพท์ตามวงความหมายจากงานวิจัยเกี่ยวกับอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในตัวบทประเภทต่าง ๆ รวมถึงการศึกษาลักษณะภาษาโฆษณาและประเภทอุปลักษณ์ที่พบในโฆษณาเครื่องสำอางในภาษาอังกฤษและภาษาไทย และจากการศึกษาแนวทางการแปลอุปลักษณ์ตามแนวคิดแบบดั้งเดิมและตามแนวภาษาศาสตร์ปริชาน ผู้วิจัยได้เลือกใช้กรอบการวิเคราะห์กลวิธีการแปลที่ผสมผสานกันของ Deignan et al. (1997) Schäffner (2004) และ Toury (1995) ผลการวิจัยพบว่า ในตัวบทโฆษณาเครื่องสำอางภาษาอังกฤษที่คัดเลือกมามีอุปลักษณ์ทั้งหมด 29 ประเภท มีจำนวนรูปภาษาที่แสดงอุปลักษณ์ทั้งหมด 1,391 ตัวอย่าง ผู้วิจัยเลือกอุปลักษณ์ที่พบสูงสุดใน 10 อันดับแรก ได้แก่ อุปลักษณ์สงคราม แสง มนุษย์ สุขภาพ พืชและการเพาะปลูก สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องจักร ศิลปะ อาหารและโภชนาการ และภาชนะ ซึ่งจำนวนรูปภาษาที่แสดงอุปลักษณ์ทั้งหมด 1,166 ตัวอย่าง นำมาวิเคราะห์อุปลักษณ์ที่พบในฉบับแปลและกลวิธีการแปล พบว่าภาษาไทยและภาษาอังกฤษมีอุปลักษณ์ทั้งหมดนี้เหมือนกัน ผลการวิเคราะห์กลวิธีการแปลเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ กล่าวคือ พบว่ากลวิธีการแปลที่พบมากที่สุดคือ 1) การแปลโดยรักษามโนทัศน์เดิม แต่รูปภาษาแสดงอุปลักษณ์ต่างจากต้นฉบับ ร้อยละ 51.41 ตามด้วย 2) การแปลโดยรักษามโนทัศน์เดิม และรูปภาษาแสดงอุปลักษณ์ตรงตามต้นฉบับ ร้อยละ 26.90 3) การแปลโดยไม่รักษามโนทัศน์ (ไม่มีรูปภาษาแสดงอุปลักษณ์) ร้อยละ 12.93 4) การแปลโดยใช้มโนทัศน์ที่แตกต่างกัน ร้อยละ 4.62 และ 5) การละไม่แปล ร้อยละ 4.11 นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการเพิ่มมโนทัศน์ที่ไม่ปรากฏในต้นฉบับเข้ามาในฉบับแปลด้วย โดยสรุป การถ่ายทอดอุปลักษณ์เชิง มโนทัศน์ในตัวบทโฆษณาเครื่องสำอางจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทแทบไม่พบปัญหาในการแปลที่มาจากปัจจัยทางวัฒนธรรมซึ่งอาจเป็นเพราะวัฒนธรรมปลายทางรับค่านิยมและวัฒนธรรมจากต่างชาติโดยเฉพาะเรื่องความงามมาอย่างยาวนาน จึงสามารถรักษามโนทัศน์เดิมในต้นฉบับได้เป็นส่วนใหญ่ ส่วนกลวิธีการแปลอื่น ๆ แสดงให้เห็นการปรับบทแปลในตัวบทโฆษณาเครื่องสำอาง

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This research aims to study conceptual metaphors in cosmetic advertising texts and translation methods used in the transfer of these metaphors from English to Thai. The data used in this research is drawn from English cosmetic advertising texts of 240 skincare and make-up products, and their translation, both of which were collected from their official websites. The researcher applied Lakoff and Johnson’s (2003) conceptual metaphor theory, Pragglejaz Group’s (2007) metaphor identification procedure and the classification of metaphor according to its semantic field from related research on conceptual metaphors in various text types, to the data, as well as studied the language of advertising and conceptual metaphors found in cosmetic advertisements. After methods of metaphor translation from both traditional and cognitive approaches were reviewed, a translation analysis model was created by adopting the translation methods as proposed by Deignan et al. (1997), Schäffner (2004) and Toury (1995). From the data, 29 conceptual metaphors were found in English cosmetic advertisements, amounting to 1,391 tokens. To analyze the metaphors and their translation methods in target texts, the researcher chose ten metaphors with the highest frequency in the corpus, totaling 1,166 tokens: war, light, human being, health, plant and cultivation, textile and clothing, machine, art, food and nutrition and container. These metaphors were found both in the English originals and their translation. The results from translation analysis confirmed the study’s hypothesis, that is, the most frequent translation methods in this study are 1) retaining the source text’s metaphorical concepts through the use of different metaphorical expressions (51.41%), 2) retaining the source text’s metaphorical concepts through the use of identical metaphorical expressions (26.90%), 3) using a non-metaphorical expression in the target texts (12.93%), 4) changing the source text’s metaphorical concepts (4.62%) and 5) omitting the metaphor (4.11%), respectively. Addition of a new metaphor which did not exist in the original to the target text is also found in the study. In conclusion, cultural barriers did not affect the transfer of these metaphorical concepts from English into Thai, possibly because Thai culture has been open to foreign cultures and values, especially the concepts of beauty, for a long time. This perhaps explains why the retention method is most frequently used as shown in the study. Also, other translation methods indicate that textual adjustments are quite common in cosmetic advertising translation.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.