Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2020
Document Type
Independent Study
First Advisor
สําเรียง เมฆเกรียงไกร
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2020.156
Abstract
ในปัจจุบันผู้ลงทุนหรือผู้เกี่ยวข้อง เข้าถึงตลาดทุนเพื่อเป็นแหล่งลงทุน และออมเงิน เพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก การออมเงินไว้ในธนาคารพาณิชย์ไม่เพียงพอในการเอาชนะเงินเฟ้อได้ ดังนั้น ตลาดทุนจึงมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมทางเลือกและเพิ่มทางเลือกในการบริหาร จัดการเงิน และออมเงินของประชาชนผู้ลงทุนหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดสรรให้มีการลงทุนอย่าง มีประสิทธิภาพ ตลาดทุนมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“สำนักงาน ก.ล.ต.”) เป็นหน่วยงานการกำกับดูแลหลักในตลาดทุน เพื่อดูแลการระดมทุนในตลาดแรก และมีตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในการดูแลตลาดรอง สำนักงาน ก.ล.ต. ทำหน้าที่อนุญาตออกและเสนอขาย หลักทรัพย์ อันเป็นผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน อาทิ หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น นอกจากนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. ยังอนุญาตให้ออกและเสนอขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่มีสินค้า เช่น หลักทรัพย์ ทองคำ หรือ น้ำมันดิบ เป็นสินค้าอ้างอิง เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนให้ผู้ลงทุนและ ผู้เกี่ยวข้องมีทางเลือกเพิ่มเติมในการลงทุน ทั้งนี้ ตลาดทุนจึงถือเป็นแหล่งเงินทุนที่ขับคลื่อนเศรษฐกิจของ ประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนความมั่นคั่งของประเทศที่สำคัญ ตลาดทุนจึงเป็นแหล่งที่ ประชาชนเข้ามาลงทุนเพื่อเก็บออมเงินหรือสร้างผลกำไร ดังนั้น จึงอาจทำให้เกิดข้อพิพาทคดีหลักทรัพย์ ขึ้นได้ ระหว่างผู้ลงทุนหรือผู้เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจได้ สำนักงาน ก.ล.ต. จึงได้จัดให้มีการระงับ ข้อพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการขึ้นแต่กระบวนการดังกล่าวเป็นเพียงภาคสมัครใจ ทำให้เป็นกระบวนการที่ไม่ได้แพร่หลายและไม่เป็นที่นิยม ผู้ศึกษาจึงได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาท โดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ โดยผู้ศึกษาเล็งเห็นว่า การระงับข้อพิพาททางเลือก โดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ เป็นกระบวนการที่ รวดเร็ว และสามารถเลือกผู้ตัดสิน (อนุญาโตตุลาการ) มาชี้ขาดข้อพิพาทได้ โดยอนุญาโตตุลาการจะเป็นผู้ มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่พิพาทนั้นเป็นผู้ทำการวินิจฉัยขาดข้อพิพาทดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้ศึกษา ได้เสนอแนวทางเพื่อทำให้กระบวนการการระงับข้อพิพาท โดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสำนักงาน ก.ล.ต. มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยได้ศึกษากระบวนการ อนุญาโตตุลาการทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ประทีปพรศักดิ์, บวร, "มาตรการระงับข้อพิพาทคดีหลักทรัพย์โดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ" (2020). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 7216.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7216