Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2020

Document Type

Independent Study

First Advisor

วุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2020.149

Abstract

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การขยายตัวของสังคมเมือง ทำให้ปัจจัยความต้องการอุปโภคและบริโภคมีปริมาณมากขึ้น และเกิดบรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภคมากขึ้น เช่น การใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีปริมาณและขนาดสำหรับพกพาและการบริโภคที่สะดวกรวดเร็ว เน้นรูปแบบวัสดุ ที่น้ำหนักเบา ยืดหยุ่น และสามารถปรับเปลี่ยนลักษณะได้ตามความต้องการ ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีซึ่งเกิดจากการแข่งขันพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อที่จะแสวงหากำไรของผู้ประกอบการ โดยคำนึงถึงแค่การทำให้ต้นทุนต่ำเพื่อให้ราคาสินค้ามีราคาต่ำที่สุด เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคมาบริโภคสินค้าของตน จากสาเหตุดังกล่าวส่งผลให้เกิดขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งมีปริมาณมากขึ้น และขยะเหล่านี้ส่วนใหญ่จะถูกนำไปเผาและฝังกลบรวมกับขยะมูลฝอยทั่วไป ซึ่งจะใช้พื้นที่ในการฝังกลบมากกว่าขยะเศษอาหารประมาณ 3 เท่า เนื่องจากขยะพลาสติก มีปริมาตรสูง เมื่อเทียบกับน้ำหนักและมีความสามารถทนต่อแรงอัดได้ ทำให้ต้องสิ้นเปลืองพื้นที่ ฝังกลบ นอกจากนี้หากเกิดการรั่วไหลของสารปรุงแต่งหรือสารประกอบที่เป็นพิษของพลาสติก ก็จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชนตามมา เช่น ส่งกลิ่นเหม็น เกิดน้ำเสียจากน้ำชะขยะปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำผิวดินและแหล่งน้ำใต้ดิน ทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและเกิดมลพิษทางอากาศ เป็นต้น นอกจากนี้ปัญหาการจัดการขยะพลาสติก ยังเกิดจากประชาชนขาดองค์ความรู้และจิตสำนึกเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ที่จะลดและคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางหรือแหล่งกำเนิดอย่างถูกวิธี ส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษพบว่า ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นมีสัดส่วนองค์ประกอบที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 โดยสามารถนำมาแปรรูปใช้ใหม่ได้ร้อยละ 30-35 และนำมาหมักทำปุ๋ยได้ร้อยละ 45-50 แต่ปัจจุบันอัตราการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ มีเพียงร้อยละ 18 ซึ่งยังคงเป็นอัตราที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับขยะมูลฝอยที่มีศักยภาพในการนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ ทำให้วัสดุจากการรีไซเคิลที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนวัตถุดิบใหม่กลับเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมยังมีน้อย ดังนั้นผู้วิจัยเห็นควรให้ประเทศไทยนำมาตรการที่มีลักษณะเป็นการเพิ่มแรงจูงใจ ให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อมและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมากขึ้น ซึ่งมาตรการที่มีลักษณะดังกล่าว ได้แก่ การจัดเก็บภาษีบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม ประกอบกับการใช้ระบบมัดจำขวด ซึ่งจะทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคเกิดความใส่ใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะขวดน้ำพลาสติกให้นำกลับมาแปรรูปใช้ใหม่มากขึ้นได้ ดังตัวอย่างเช่น ในประเทศนอร์เวย์ที่ได้มีการจัดเก็บภาษีบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มควบคู่ไปกับระบบมัดจำ ในวงจรระบบ รีไซเคิล โดยเริ่มต้นจากผู้ประกอบการสินค้าเครื่องดื่มจะถูกเก็บภาษีบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม และหากเข้าสู่ระบบมัดจำก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ลดอัตราภาษีหรือยกเว้นภาษีบรรจุภัณฑ์ตามอัตราส่วนการนำกลับมาใช้ใหม่ของขวดบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม และหากสามารถรีไซเคิลขวดบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มได้มากกว่าร้อยละ 95 ก็จะไม่ต้องเสียภาษี โดยจะมีองค์กร Infinitum เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยอุตสาหกรรมเครื่องดื่มและอุตสาหกรรมค้าปลีก เป็นผู้ดูแลระบบการรับคืนบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม รวมทั้งจัดระบบการคืนมัดจำขวด ขนส่ง คัดแยก และนำเข้าโรงงานรีไซเคิล ฯลฯ นอกจากนี้สำหรับผู้บริโภคสินค้าเครื่องดื่มที่มีค่ามัดจำบรรจุภัณฑ์รวมไปในราคาจำหน่าย สามารถคืนขวดได้ตามเครื่องแลกขวดอัตโนมัติที่ตั้งอยู่ตามร้านค้าต่าง ๆ หรือสถานีบริการน้ำมัน โดยเครื่องรับคืนขวดจะอ่านข้อมูลบาร์โค้ดบนฉลากก่อนออกใบเสร็จคืนเงินให้ เพื่อนำไปขึ้นเงินสด ใช้จ่ายแทนเงินสด หรือสามารถบริจาคได้ ดังนั้นการจัดเก็บภาษีบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มประกอบกับการใช้ระบบมัดจำ จะสามารถเข้ามามีส่วนช่วยในการคัดแยกขยะโดยทุกภาคส่วนและเป็นระบบมากขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่ผู้ประกอบการบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม ผู้ค้าปลีก ตลอดจนผู้บริโภค

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.