Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2020
Document Type
Independent Study
First Advisor
ทัชมัย ฤกษะสุต
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2020.147
Abstract
เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการควบคุมการจำหน่ายอาหารในลักษณะ สตรีทฟู้ด กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจำหน่ายอาหารสตรีทฟู้ด และศึกษามาตรการควบคุมการจำหน่ายอาหารในลักษณะสตรีทฟู้ดในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อ นำมาพัฒนาและส่งเสริมการประกอบธุรกิจสตรีทฟู้ด และทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงการบริโภคอาหารที่ ปลอดภัย อร่อย สะดวกและราคาไม่แพงมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่สังคมไทยต้อง เผชิญทั้งในระบบเศรษฐกิจ สุขอนามัยและชีวิตความเป็นอยู่ ฐานะการเงินในการดำรงชีวิต อีกทั้ง วิกฤตการณ์โควิด 19 อย่างไรก็ตามกฎหมายของไทยที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายอาหารสตรีทฟู้ด รัฐได้กำหนดข้อ กฎหมายตั้งแต่พระราชบัญญัติไปจนถึงประกาศกรุงเทพมหานคร และมีลักษณะของเนื้อหากฎหมาย เพื่อกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสตรีทฟู้ดในรูปแบบมาตรการควบคุม มีกฎเกณฑ์สำหรับการดำเนิน ธุรกิจ มีการใช้ระบบใบอนุญาต และกำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และมีการ บังคับใช้กฎหมายตามแต่เขตพื้นที่นั้น แต่ปัจจุบันพบว่ากฎหมายในเนื้อหาบางส่วนที่บังคับใช้ใน ปัจจุบันยังคงไม่คลอบคลุมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องทั้งหมด อีกทั้งการบังคับใช้กฎหมายที่ยังคงไม่เป็นระบบ จากการศึกษามาตรการควบคุมการจำหน่ายอาหารในลักษณะสตรีทฟู้ดในประเทศ สหรัฐอเมริกา ผู้วิจัยเห็นว่าสามารถนำมาปรับใช้กับกรุงเทพมหานครได้ โดยกำหนดข้อกฎหมายทั้งข้อ ปฏิบัติและข้อห้ามปฏิบัติเกี่ยวกับสุขลักษณะอนามัยของการจำหน่ายอาหารในลักษณะสตรีทฟู้ด ส าหรับมาตรการควบคุมของภาครัฐเชิงพื้นที่และเชิงการบริหารจัดการ มีการน าเอาเทคโนโลยีเช่น ระบบกำหนดตำแหน่งที่ตั้ง ระบบการกำหนดพื้นที่จำหน่ายอาหารในที่สาธารณะ ระบบการสมัครยื่น ขอหรือต่อใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจสตรีทฟู้ดผ่านช่องทางออนไลน์มาใช้ในการปฏิบัติงาน รวมถึงจัดทำคู่มือเกี่ยวกับขั้นตอนการจำหน่ายอาหารในลักษณะสตรีทฟู้ดในรูปแบบที่มีเนื้อหาชัดเจน และคลอบคลุมผ่านสื่อออนไลน์ มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐและผู้เกี่ยวข้องที่มีความชำนาญ เฉพาะในการสร้างองค์ความรู้ การวางแผนนโยบายต่าง ๆ เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงานของรัฐ ท าให้ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยและช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจสตรีทฟู้ดมีโอกาสในการ ประกอบกิจการมากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสในการพัฒนาและส่งเสริมให้ธุรกิจสตรีทฟู้ดของ กรุงเทพมหานครให้เติบโตในระดับสากลมากยิ่งขึ้น
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
อินทรักษ์, นันทวรรณ, "มาตรการควบคุมการจำหน่ายอาหารในลักษณะสตรีทฟู้ด กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร" (2020). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 7206.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7206