Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2019
Document Type
Independent Study
First Advisor
พล ธีรคุปต์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายการเงินและภาษีอากร
DOI
10.58837/CHULA.IS.2019.182
Abstract
ในปัจจุบันการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินออกเป็น 8 ประเภทตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรนั้น มักพบปัญหาเกี่ยวกับความชัดเจนของการแยกประเภทเงินได้ในแต่ละประเภทและมีผลทำให้การจัดเก็บภาษีไม่สอดคล้องกับหลักภาษีอากรที่ดี ตลอดจนไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่บัญญัติไว้ นอกจากในประเด็นเรื่องการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินแล้ว ผู้วิจัยยังศึกษาเกี่ยวกับการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมินแต่ละประเภทด้วย เนื่องจากการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินมีหลักสำคัญคือการก าหนดหลักเกณฑ์เฉพาะส าหรับเงินได้แต่ละประเภทให้แตกต่างกันออกไปการหักค่าใช้จ่ายจึงมีผลต่อการศึกษาการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินเช่นกัน และผู้วิจัยยังได้ศึกษาแนวทางการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินของประเทศอังกฤษ ประเทศมาเลเซีย และประเทศศรีลังกาซึ่งเป็นประเทศที่มีการแบ่งเงินได้พึงประเมินเป็นหลายประเภทเช่นเดียวกับในปัจจุบันของประเทศไทยและบางประเทศก็มีการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินคล้ายกับข้อเสนอเพื่อปรับปรุงแก้ไขประมวลรัษฎากร โดย คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงและแก้ไขประมวลรัษฎากร เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการเสนอแก้ไขปรับปรุงกฎหมายต่อไป เอกัตศึกษาฉบับนี้ได้เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในประมวลรัษฎากรมาตรา 40 เพื่อลดความซับซ้อนของการทำความเข้าใจลักษณะของเงินได้พึงประเมินประเภทต่าง ๆ เพื่อลดปัญหาด้านการตีความในทางปฏิบัติ ลดความเหลื่อมล้ำและทำให้กฎหมายมีความเหมาะสมและชัดเจนแน่นอนมากยิ่งขึ้น
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ผดุงอรรถ, ธันยธรณ์, "การแบ่งประเภทเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร: ศึกษากรณีข้อเสนอเพื่อปรับปรุงแก้ไขประมวลรัษฎากร โดย คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงและแก้ไขประมวลรัษฎากร" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 7048.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7048