Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2019

Document Type

Independent Study

First Advisor

วุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2019.127

Abstract

ปัจจุบันการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างรวดเร็ว ปัจจัยหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายของรัฐ อาทิ การขจัดความซ้ำซ้อนของการจัดเก็บภาษี การปรับเพิ่มวงเงินให้บริษัทแม่ในประเทศไทยสามารถลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ และการเปิดเสรีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 เป็นต้น ซึ่งการลงทุนแบบไร้พรมแดนนี้ ผู้ประกอบการอาจลงทุนในรูปแบบบริษัทข้ามชาติ เช่น ตั้งเป็นนิติบุคคลรายใหม่ บริษัทร่วม บริษัทในเครือ เป็นต้น ในการลงทุนระหว่างประเทศนี้ผู้ประกอบการมักเลือกรูปแบบ และการจัดโครงสร้างการถือหุ้นเพื่อลดต้นทุนในทางภาษี และเลือกลงทุนในประเทศ ที่มีอัตราภาษีอากรต่ำ และให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่สูง และมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนย้ายผลกำไร ในลักษณะการหลีกเลี่ยงภาษีมากยิ่งขึ้นเพื่อลดภาระภาษีให้ต่ำที่สุด เช่น การกำหนดราคาโอน (Transfer Pricing) ที่ผิดปกติ การเลือกอนุสัญญาภาษีซ้อนโดยบุคคลที่สาม (Treaty Shopping) หรือการโอนผลกำไรเข้าในดินแดนปลอดภาษี (Tax Haven) เป็นต้น สำหรับประเทศไทย กฎหมายภาษีอากรที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาโอน คือ คำสั่งกรรมสรรพากร ที่ ป.113/2545 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 47) พ.ศ. 2561 เรื่อง มาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนระหว่างบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีความสัมพันธ์กัน (Transfer Pricing) ที่เพิ่งมีผลใช้บังคับ แม้ว่ากฎหมายไทยมีบทบัญญัติ เกี่ยวกับมาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนระหว่างบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีความสัมพันธ์กันก็ตาม แต่บทบัญญัติในพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 47) พ.ศ. 2561 มีความไม่ชัดเจนและเกิดปัญหาในการบังคับใช้ดังต่อไปนี้ 1. การตีความถ้อยคำในกฎหมายตามมาตรา 71 ทวิ เกี่ยวกับ “การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกัน” ในกรณีการเข้าร่วมทุนประเภทของกิจการร่วมค้า หรือกิจการค้าร่วมในธุรกรรมระหว่างประเทศ ของกลุ่มนิติบุคคล 2. การปรับใช้ราคาโอนสำหรับ สำนักงานสาขา (Branch) และสำนักงานแห่งใหญ่ (Head Office) ยังไม่มีบทบัญญัติใดให้กระทำได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงอาศัยช่องว่างทางกฎหมายดังกล่าว สร้างหน่วยภาษีในลักษณะสาขาเพื่อหลีกเลี่ยงภาระภาษีที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับหลักการตอบโต้ การหลีกเลี่ยงภาษีของต่างประเทศ พบว่าหลายๆ ประเทศ เช่นประเทศฮังการี และประเทศสิงคโปร์ ได้วางแนวทางพื้นฐานให้ครอบคลุมถึงการปรับใช้ราคาโอนสำหรับสำนักงานสาขา และสำนักงานแห่งใหญ่ โดยมีการสร้างมาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอน ไว้ทั้งในประมวลรัษฎากร และในอนุสัญญาภาษีซ้อน ที่ได้ทำความตกลงกับประเทศต่าง ๆ

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.