Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2019

Document Type

Independent Study

First Advisor

ทัชชมัย ฤกษะสุต

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2019.119

Abstract

ปัจจุบันอุตสาหกรรมภาพยนตร์ถือเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สร้างรายได้และกระตุ้น เศรษฐกิจในระดับนานาชาติ ซึ่งประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบจากขยายตัวอย่างต่อเนื่องของ อุตสาหกรรมภาพยนตร์เช่นกัน ดังนั้นการศึกษานี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาด้านมาตรการส่งเสริม และสิทธิประโยชน์ของประเทศไทย ที่มอบให้กับภาพยนตร์ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาถ่ายท าในประเทศ ไทยของกองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศ ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนในระยะยาวของกองถ่าย ภาพยนตร์ต่างประเทศและนักลงทุน โดยเปรียบเทียบกับมาตรการส่งเสริมและสิทธิประโยชน์ของ ประเทศมาเลเซีย และประเทศสิงคโปร์ ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลและสรุปเกี่ยวกับ แนวทางปฏิบัติ ข้อก าหนด สิทธิที่ ได้รับ รวมทั้งประเด็นปัญหาที่ส าคัญ ได้แก่ ขั้นตอนที่ซับซ้อนและระยะเวลาที่ยาวนานในการติดต่อ ด าเนินการกับแต่ละหน่วยงาน นโยบายและมาตรการส่งเสริมที่มีในปัจจุบันไม่เพียงพอ นโยบายและ มาตรการส่งเสริมที่มีในปัจจุบันไม่ครอบคลุมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ที่ กระทบต่อการส่งเสริม ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนถ่ายท าภาพยนตร์ ต่างประเทศเป็นอย่างมาก จากการศึกษาข้อมูลของประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์ พบว่าทั้งสองประเทศมีมาตรการ ส่งเสริมฯ และสิทธิประโยชน์ที่มอบให้กับกองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศและนักลงทุนหลายมาตรการ ซึ่งแต่ละมาตรการประสบความส าเร็จในการดึงดูดกองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศและนักลงทุนเป็น อย่างมาก ดังนั้นประเทศไทยจึงน ามาตรการที่ประสบผลส าเร็จของทั้งสองประเทศ มาพัฒนาต่อยอด และปรับใช้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหา ได้แก่ การปรับปรุงและจัดระเบียบโครงสร้างหน่วยงาน One Stop Service ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การพิจารณาก าหนดมาตรการใหม่และเพิ่มเติมสิทธิ ประโยชน์ของมาตรการส่งเสริมฯ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน การจัดตั้งกองทุนหรือให้การสนับสนุนเงินลงทุนใน การเข้ามาถ่ายท าภาพยนตร์และการพิจารณาลิขสิทธิ์ของภาพยนตร์ที่ส่งผลต่อการลงทุนถ่ายท าใน ประเทศไทย เพื่อเอื้อประโยชน์แก่กองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศและนักลงทุน เป็นการดึงดูดการเข้า มาถ่ายท าภาพยนตร์ และป้องกันการเสียโอกาสที่กระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี ้ควรเพิ่มความส าคัญด้านมาตรการส่งเสริมการถ่ายท าภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ทั ้งจาก หน่วยงานรัฐบาลและหน่วยงานเอกชน รัฐบาลควรให้ความสนับสนุนหน่วยงานเอกชนที่มีความเกี่ยวข้องกับการ เข้ามาถ่ายท าภาพยนตร์ของกองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศและนักลงทุน และส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ ภาพลักษณ์ของประเทศและข้อมูลที่ส าคัญแก่กองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศ นักลงทุน และผู้ที่สนใจ เพื่อให้ ประเทศไทยเป็นประเทศแนวหน้าในการเป็นสถานที่ถ่ายท าและลงทุนด้านภาพยนตร์ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดี และยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.