Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2019
Document Type
Independent Study
First Advisor
ทัชชมัย ฤกษะสุต
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2019.117
Abstract
การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการแก้ไขปัญหาของประมวลรัษฎากรไทยในปัจจุบันที่ไม่มี ความยืดหยุ่นในหลักเกณฑ์ของการตัดจําหน่ายและการคํานวณค่าเสื่อมของสินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อย โดยศึกษาหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวของกฎหมายของประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งมีการกําหนด ในกฎหมายอย่างชัดเจนและเป็นการช่วยลดภาระแก่ผู้ประกอบการในการปรับปรุงรายการเพื่อ คํานวณกําไรสุทธิในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล อันสอดคล้องกับหลักการภาษีอากรที่ดีในเรื่อง ความ ยืดหยุ่นและหลักการบริหารที่ดี จากการศึกษาพบว่า ประมวลรัษฎากรไทยยึดถือในหลักกรรมสิทธิ์และหลักประโยชน์ใช้สอย เท่านั้น โดยยังไม่มีบทบัญญัติใดอนุโลมให้ปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปในหลักความมี นัยสําคัญ จึงทําให้ยังมีประเด็นปัญหาที่สําคัญในการตัดจําหน่ายและคํานวณค่าเสื่อมราคาของ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อยอยู่ 3 ประการ คือ (1) ประมวลรัษฎากรไม่มีหลักเกณฑ์ข้อผ่อนปรนสําหรับ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อยเฉกเช่นเดียวกับหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป (2) แนวปฏิบัติของกรมสรรพากร ไม่สะท้อนความเป็นจริงของการมีอยู่ของทรัพย์สิน และ (3) ต้นทุนในการปรับปรุงรายการในการ คํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีตามเงื่อนไขการคํานวณกําไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม) เกี่ยวกับรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน อาจจะสูงเกินกว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฏิบัติให้ ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร ซึ่งปัญหาทั้ง 3 ประการนี้ ถือเป็นการสร้างภาระเกินจําเป็นแก่ ผู้ประกอบการและยังไม่สอดคล้องกับหลักการภาษีอากรที่ดีอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับหลักการเกณฑ์การตัดจําหน่ายและการคํานวณค่าเสื่อมราคาของ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อยของประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ พบว่ากฎหมายของทั้ง 2 ประเทศมีการ กําหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวอย่างชัดเจน รวมทั้งมีตัวอย่างการคํานวณและใช้สิทธิอย่างละเอียด ซึ่งเป็นการช่วยอํานวยความสะดวกและเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ประกอบการในการคํานวณและตัด จําหน่ายค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรนําแนวทางดังกล่าวมาปรับใช้ เพื่อเป็นการพัฒนาหลักเกณฑ์ในประมวลรัษฎากรไทยให้สอดคล้องกับหลักการภาษีอากรที่ดีและ อํานวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ ผู้เขียนได้เสนอแนะแนวทางในการนําหลักเกณฑ์ของต่างประเทศมาปรับใช้ในประเทศไทย เพื่อแก้ปัญหาทั้ง 3 ประการที่กล่าวมาข้างต้น โดยผู้เขียนเห็นว่าวิธีการดังกล่าวมีความเหมาะสมและ ควรปรับปรุง สามารถประยุกต์ใช้กับประเทศไทยได้ ซึ่งจะทําให้เกิดความชัดเจนในประมวลรัษฎากร ไทย และเป็นการช่วยบรรเทาภาระภาษีแก่ผู้ประกอบการ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนใน สินทรัพย์ใหม่ของกิจการ และช่วยให้กระแสเงินสดมีความคล่องตัวมากขึ้น
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ปรีชาบริสุทธิ์กุล, ตรีรัช, "แนวทางการตัดจำหน่ายและคำนวณค่าเสื่อมราคาสำหรับสินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อย (Low-value assets) เป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล: ศึกษากฎหมายประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 6983.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/6983