Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2018

Document Type

Independent Study

First Advisor

ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ

Second Advisor

วสวัสดิ์ ชูเชิด

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2018.31

Abstract

ในการคำนวณรายได้ รายจ่ายและกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมสำหรับกิจการสำรวจและปิโตรเลียมนั้น พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียมกำหนดให้คำนวณตามวิธีการ หลักเกณฑ์ และการปฏิบัติทางบัญชีที่เหมาะสมซึ่งใช้อยู่เป็นปกติในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม และ ให้หักรายจ่ายตามปกติและจำเป็นในจำนวนไม่เกินสมควรและได้จ่ายไปในกิจการปิโตรเลียม ไม่ว่าจะจ่ายในหรือนอกราชอาณาจักร โดยมีมาตราที่เกี่ยวข้องในการคำนวณกำไรสุทธิ คือ มาตรา 22 กล่าวถึงเรื่องรายได้ มาตรา 24 กล่าวถึงและยกตัวอย่างของรายจ่ายตามปกติและจำเป็น มาตรา 25 กล่าวถึงรายการที่มิให้ถือเป็นรายจ่ายตามปกติและจำเป็น และมาตรา 26 กล่าวถึง การคำนวณรายได้ รายจ่าย และกำไรสุทธิ พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม มาตรา 24 (2) กำหนดว่า ค่าแรงงาน ค่าบริการ ค่าวัสดุสิ้นเปลือง และรายจ่ายทำนองเดียวกันอย่างอื่นที่ใช้ในการเจาะเพื่อสำรวจหรือเพื่อผลิต เป็นลักษณะของรายจ่ายตามปกติและจำเป็น สามารถนำไปเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีได้ ในขณะที่ มาตรา 26 (11) แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันได้กล่าวถึงวิธีคำนวณราคาทุนของสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี จากบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ทำให้กิจการที่อยู่ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมมีแนวปฏิบัติสำหรับการคำนวณกำไรสุทธิเมื่อทำการผลิตและจำหน่ายปิโตรเลียมที่แตกต่างกัน โดยมี 2 แนวทางดังนี้ คือ แนวทางที่ 1. เมื่อผลิตปิโตรเลียมได้ จะถือรายจ่ายตามมาตรา 24 (2) เป็นรายจ่ายทันทีในรอบบัญชีนั้น (Treated as expenses) ในงบกำไรขาดทุน หรือ แนวทางที่ 2. เมื่อผลิตปิโตรเลียมได้ จะถือรายจ่ายตามมาตรา 24 (2) เป็นสินค้าคงเหลือในรอบบัญชีนั้น (Treated as inventory) ในงบแสดงฐานะทางการเงิน และถือเป็นรายจ่ายในงบกำไรขาดทุนในรอบบัญชีที่ขายปิโตรเลียม การถือปฏิบัติต่อรายจ่ายดังกล่าวที่แตกต่างกันตาม 2 วิธีนั้น ส่งผลให้กำไรสุทธิเพื่อคำนวณภาษีเงินได้ปิโตรเลียมของกิจการในรอบบัญชีที่ผลิตปิโตรเลียมไม่เท่ากัน จากการศึกษาปัญหาดังกล่าว การถือปฏิบัติต่อรายจ่ายตามมาตรา 24 (2) แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ควรปฏิบัติตามแนวทางที่ 2 คือ ถือเป็นต้นทุนสินค้าในรอบบัญชีที่ผลิต และรับรู้เป็นรายจ่ายในรอบบัญชีที่ขายปิโตรเลียม เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้การคำนวณกำไรสุทธินั้น ต้องใช้วิธีปฏิบัติทางบัญชีให้เหมาะสม ซึ่งตามหลักการบัญชีนั้น รายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตปิโตรเลียมต้องถือเป็นสินค้าคงเหลือในงบแสดงฐานะทางการเงิน และจะรับรู้รายจ่ายในงบกำไรขาดทุนได้เมื่อมีการขายสินค้าคงเหลือ วิธีนี้ทำให้รายจ่ายที่เกิดขึ้นสัมพันธ์โดยตรงกับรายได้ ทำให้กำไรสุทธิในรอบบัญชีที่ผลิตและขายถูกต้อง เหมาะสม และแสดงประสิทธิผลในการดำเนินงานที่แท้จริงของกิจการในรอบบัญชีนั้นได้ชัดเจน นอกจากนี้ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมที่กิจการคำนวณได้นั้น จะเป็นมูลค่าที่มีความเหมาะสมและเป็นธรรมแก่รัฐและกิจการปิโตรเลียม เนื่องจากเป็นการคำนวณตามกำลังความสามารถในการเสียภาษีของกิจการในรอบบัญชีนั้น

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.