Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2018

Document Type

Independent Study

First Advisor

ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2018.27

Abstract

จากการศึกษาการใช้สิทธิประโยชน์เงินบริจาคในประเทศสิงคโปร์ พบว่ามีการให้สิทธิประโยชน์ในการนำเงินบริจาคที่ไม่สามารถใช้สิทธิในปีภาษีปัจจุบัน เนื่องมาจากมียอดเงินบริจาคมากกว่ารายได้ในปีภาษีเดียวกัน โดยสำนักงานสรรพากรสิงคโปร์มีการให้สิทธิประโยชน์โดยการนำเงินบริจาคดังกล่าวยกไปใช้ได้ภายใน 5 ปีภาษีถัดไป เนื่องมาจากประเทศสิงคโปร์มีนโยบายในการกระตุ้นให้ผู้เสียภาษีมีการช่วยเหลือสังคมโดยการบริจาค เมื่อทำการศึกษาการหักเงินบริจาคในประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร ที่มีเงื่อนไขในการปฏิบัติตามมาตรา 65 ตรี (3) และพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับที่เกี่ยวข้องโดยให้สิทธิในการหักเงินบริจาคเป็นจำนวน 2 เท่า แต่หักได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิก่อนหักค่าใช้จ่ายเงินบริจาคในปีภาษีที่เงินบริจาคเกิดขึ้นสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคล และหักได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่นก่อนหักลดหย่อนเงินบริจาคสำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา พบว่าการหักเงินบริจาคดังกล่าวไม่ได้เอื้อประโยชน์ต่อผู้เสียภาษี และยังส่งผลให้ไม่สามารถผลักดันให้ผู้เสียภาษีมีการบริจาคเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ขั้นตอนในการออกกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับการบริจาคของประเทศไทยนั้นจะเริ่มต้นจากมีมติคณะรัฐมนตรีออกมา โดยจะมีสถานะและผลทางกฎหมาย คือ การใช้อำนาจบริหารของคณะรัฐมนตรี ไม่มีสถานะเป็นกฎหมายตามแบบพิธีและไม่มีผลบังคับต่อประชาชน และในเวลาต่อมาถึงจะมีการออกพระราชกฤษฎีกา และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรตามลำดับ ซึ่งในการจะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับการการบริจาคที่ถูกต้องครบถ้วนตามหลักทางภาษีอากรนั้น ผู้เสียภาษีทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดเท่านั้น จากที่กล่าวมาข้างต้น สิทธิในการนำค่าใช้จ่ายเงินบริจาคที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิในปีปัจจุบันเป็นยอดยกไปเพื่อใช้สิทธิในอีก 5 ปีภาษีของประเทศสิงคโปร์นั้นเป็นการยึดตามหลักความแน่นอนและการประหยัดของสิทธิที่ผู้เสียภาษีทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาพึงมีจะได้รับสิทธิที่เกิดจากความเสียสละเงินหรือทรัพย์สินต่างๆเพื่อบริจาคให้กับองค์การที่ได้รับการอนุมัติให้เป็นหน่วยงานที่มีการให้ความช่วยเหลือกับสังคม และเพื่อเป็นประโยชน์และลดภาระของรัฐบาลในการที่จะทำให้ประเทศพัฒนาในด้านต่างๆต่อไปได้อย่างต่อเนื่องจึงควรนำมาปรับใช้กับกฎหมายของประเทศไทย

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.