Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2018
Document Type
Independent Study
First Advisor
ทัชชมัย ทองอุไร
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2018.23
Abstract
การค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นเพราะประเทศต่างๆ ในโลกไม่สามารถผลิตสินค้าและบริการได้ครบตามความต้องการของผู้บริโภคในประเทศ โดยผู้นำเข้าและส่งออกจำเป็นต้องตกลงกันว่าจะใช้วิธีการชำระเงินในรูปแบบใด ซึ่งการชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of credit) เป็นวิธีที่ผู้นำเข้าส่งออกต้องการความเชื่อมั่นในการทำการค้าระหว่างกัน โดยผู้ขายหากส่งมอบเอกสารต่างๆ ให้แก่ธนาคารตามที่กำหนดไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้ว ธนาคารมีหน้าที่ในการตรวจสอบเอกสารดังกล่าวว่าตรงตามที่กำหนดเอาไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ผู้ซื้อเปิดเครดิตไว้หรือไม่ หากธนาคารตรวจสอบแล้วเห็นว่าเอกสารทั้งหมดตรงหรือสอดคล้องกับที่เลตเตอร์ออฟเครดิตกำหนดไว้ ธนาคารก็มีหน้าที่ชำระเงินให้กับผู้ขาย แต่หากเอกสารไม่ตรงหรือไม่สอดคล้องตามที่กำหนดไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิต ธนาคารของผู้ซื้อมีสิทธิปฏิเสธการชำระเงินได้ โดยธนาคารจะพิจารณาตามข้อกำหนดในสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีปฏิบัติตามที่ UCP กำหนด หลักปฏิบัติในการตรวจสอบเอกสารประกอบสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ไม่แน่นอน การตีความและความระมัดระวังในการตรวจสอบเอกสารประกอบสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยมีความแตกต่างกัน ดังนั้นประเทศไทยควรมีกฎหมายที่กำหนดกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนแน่นอนในการตรวจสอบเอกสารประกอบสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย โดยใช้แนวทางในการนำข้อกำหนดและกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารประกอบสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตในประเทศจีน ประเทศอังกฤษ และประเทศสหรัฐอเมริกามาใช้กับประเทศไทย ด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบเอกสารประกอบเลตเตอร์ออฟเครดิตของธนาคารพาณิชย์เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยเฉพาะหรือกำหนดเป็นมาตรฐานการปฏิบัติของสถาบันการเงิน โดยกำหนดหลักการตรวจสอบเอกสารประกอบเลตเตอร์ออฟเครดิตด้วยหลักการตรวจสอบเอกสารโดยเคร่งครัด (Strict Compliance) และกำหนดกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิต เพื่อเป็นแนวทางในการพิพากษาของศาลในกรณีมีข้อพิพาทเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารประกอบเลตเตอร์ออฟเครดิต โดยกำหนดศาลที่ใช้ตัดสินโดยเฉพาะเหมือนกับศาลจีน หรือใช้แนวคำพิพากษาเดิมเป็นกฎหมายที่ยึดถือปฏิบัติกันมาเหมือนกับศาลอังกฤษที่ยึดหลักการตรวจสอบเอกสารโดยเคร่งครัด หรือตีความโดยใช้กฏหมายเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยเฉพาะเหมือนกับศาลสหรัฐอเมริกาที่มีบทบัญญัติความรับผิดของธนาคารและใช้หลักการตรวจสอบเอกสารโดยเคร่งครัด เพื่อให้การตีความและความระมัดระวังในการตรวจสอบเอกสารประกอบสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยมีมาตรฐานและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อีกทั้งทำให้ผลของการตรวจสอบเอกสารประกอบสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตมีความแน่นอน ลดปัญหาที่เกิดจากการตีความเอกสารประกอบสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยที่แตกต่างกัน สร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้าในต่างประเทศ ส่งเสริมภาพลักษณ์ในการทำการค้าของผู้นำเข้าและส่งออกในประเทศไทย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างรายได้ให้กับประเทศในที่สุด
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ดวงเดือน, ไพดรินทร์, "แนวทางในการกำหนดเกณฑ์กลางเพื่อการตรวจสอบเอกสารประกอบสัญญา เลตเตอร์ออฟเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย" (2018). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 6845.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/6845