Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2018
Document Type
Independent Study
First Advisor
วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2018.6
Abstract
เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะอาหารของประเทศไทย และศึกษามาตรการทางภาษีเพื่อลดปริมาณการสูญเสียอาหารหรือการเกิดขยะอาหารของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นประเทศที่มีปริมาณอาหารส่วนเกิน การบริโภคที่กลายเป็นขยะอาหารมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และมีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ ผู้บริจาคอาหารที่เป็นส่วนเกินการบริโภค จากการศึกษา พบว่า ปริมาณขยะมูลฝอยในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีปริมาณของขยะอาหารเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 60 ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น ขณะที่มาตรการทางกฎหมายที่ใช้บังคับในประเทศไทยปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยทั้งระบบ ขาดความชัดเจนในการจัดการขยะมูลฝอยแต่ละประเภทซึ่งรวมถึงขยะอาหาร และมุ่งเน้นการจัดการ ขยะมูลฝอยที่ปลายทาง คือ การกำจัดขยะ มากกว่าการจัดการขยะที่ต้นทาง หรือการลดปริมาณ การเกิดขยะ แม้ว่าในภายหลัง รัฐบาลจะมีการกำหนดให้การจัดการขยะมูลฝอยเป็นวาระแห่งชาติ และมีการกำหนดนโยบายการจัดการขยะที่ครอบคลุมการจัดการขยะแบบครบวงจรโดยอาศัยหลักการ 3Rs เน้นการลดการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทาง การนำขยะกลับไปใช้ซ้ำ และการใช้ประโยชน์จากขยะด้วยการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ แต่ปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยของประเทศไทยยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แสดงให้เห็นถึงการขาดความมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและประชาชนในการลดปริมาณขยะ นอกจากนี้ รัฐยังไม่มีการกำหนดนโยบายสำหรับการจัดการขยะอาหารโดยเฉพาะ แม้ว่าปริมาณขยะอาหารจะมีสัดส่วนมากที่สุดจากปริมาณขยะมูลฝอยที่จัดเก็บได้ก็ตาม ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดามีการออกกฎหมายเฉพาะเพื่อใช้บังคับในการจัดการปัญหาขยะอาหาร รวมถึงมีการนำมาตรการทางภาษีมาใช้สร้างแรงจูงใจให้ประชาชนและภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลดปริมาณอาหารส่วนเกินการบริโภค เพื่อไม่ให้อาหารเหล่านั้นกลายเป็นขยะอาหาร ดังนั้น ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีการนำแนวทางมาตรการทางภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดามาปรับใช้กับการจัดการขยะอาหารของประเทศไทย เพื่อเพิ่มความมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและประชาชนในการลดปริมาณอาหารส่วนเกินการบริโภค ที่จะก่อให้เกิดเป็นขยะอาหาร อันจะส่งผลถึงการลดปริมาณขยะมูลฝอยของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สุวรรณวรบุญ, ชริสา, "มาตรการทางกฎหมายภาษีเพื่อลดขยะอาหาร" (2018). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 6828.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/6828