Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2017
Document Type
Independent Study
First Advisor
ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2017.48
Abstract
เงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) มีการกำหนดจำนวนสูงสุดที่สามารถใช้ ลดหย่อนภาษีได้ แต่ไม่มีการกำหนดจำนวนสูงสุดที่ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ จึงเกิดกรณีที่ผู้ลงทุนซื้อ เงินลงทุนเกินกว่าสิทธิลดหย่อน หรือไม่ได้นำเงินลงทุนไปใช้สิทธิลดหย่อน หรือเรียกว่าส่วนที่ไม่ได้ใช้ สิทธิลดหย่อนภาษี การถือเงินลงทุนในส่วนที่ไม่ได้สิทธิลดหย่อนภาษีนั้นจะมีปัญหาว่า เงินลงทุนส่วนที่ ไม่ได้ใช้สิทธิดังกล่าวจะสามารถขายออกไปได้โดยต้องมีเงื่อนไขเรื่องระยะเวลาหรือไม่ เพราะไม่ได้เป็น ส่วนที่นำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษี แต่ในทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่กลับมีการบังคับว่าเมื่อมีการขายเงิน ลงทุนส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนออกไปก่อนเงื่อนระยะเวลาบังคับ หากผู้ลงทุนเคยใช้สิทธิลดหย่อน ภาษี จะถือเป็นการผิดเงื่อนไขการลงทุน ด้วยปัญหาดังกล่าวนี้ทำให้ผู้ขายเงินลงทุนในส่วนที่ไม่ได้ใช้ สิทธิลดหย่อนทางภาษีก่อนครบกำหนดเวลาจะถือว่าเป็นการขายโดยผิดเงื่อนไขระยะเวลาการถือ ครอง อีกทั้งต้องมีภาระการจ่ายคืนเงินภาษีและเบี้ยปรับ ทั้งๆที่ส่วนที่ผู้ลงทุนขายออกไปนั้นไม่เคย ได้รับประโยชน์ทางภาษี และการปฏิบัติดังกล่าวหมายความว่าหากผู้ลงทุนไม่ต้องการที่จะต้องเสียภาษี และเงินเพิ่ม ผู้ลงทุนจะต้องถือเงินลงทุนส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนนี้ไปจนครบกำหนดเวลาเหมือน ส่วนที่ใช้สิทธิลดหย่อนทางภาษี จากการศึกษาพบว่าปัญหาดังกล่าวนั้นเกิดจากการขาดแนวทางปฏิบัติเมื่อซื้อเกินสิทธิหรือไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีทาให้เกิดการตีความและบังคับใช้ในทางที่ไม่เป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี หากเปรียบเทียบกับ IRAs ของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพแล้วเห็นว่า มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนทำให้สามารถแยกส่วนที่ใช้สิทธิและไม่ใช้สิทธิลดหย่อนทาง ภาษีออกจากกันได้ ลดการตีความในการบังคับใช้ และสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้เสียภาษีมากกว่า ผู้เขียนจึงเห็นว่าควรที่จะนำแนวทางปฏิบัติของประเทศสหรัฐอเมริกามาปรับใช้กับประเทศไทย โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนนั้นสามารถขายหน่วยลงทุนส่วนที่เกินสิทธิหรือส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนนั้นออกไปได้ภายในเวลาที่กำหนด โดยไม่ต้องมีโทษทางภาษี ซึ่งจะสร้างความเป็นธรรม ให้แก่ผู้เสียภาษี และผู้จัดเก็บภาษีสามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักภาษีอากรที่ดี นอกจากนี้แนวทางปฏิบัติจะส่งเสริมช่วยให้ผู้ลงทุนวางแผนภาษีได้ดีขึ้นด้วย
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ธนวงศากุล, ปนัดดา, "ปัญหาการขายเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนทางภาษี" (2017). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 6798.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/6798