Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2017
Document Type
Independent Study
First Advisor
ทัชชมัย ทองอุไร
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2017.47
Abstract
รัฐบาลได้ออกมาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปีในประเทศไทยโดยออกร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ ...(พ.ศ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร หรือที่เรียกว่า มาตรการช็อปช่วยชาติซึ่งเริ่มครั้งแรกในปี 2558 ในช่วงวันที่ 25 ธันวาคมถึง 31 ธันวาคม และมีอย่างต่อเนื่องในปี 2559 ในช่วงวันที่ 14 ถึง 31 ธันวาคม 2559 และปี 2560 ในช่วงวันที่ 11 พฤศจิกายน ถึง 3 ธันวาคม โดยการให้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าซื้อสินค้าและบริการตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท ตามหลักเกณฑ์ที่มาตรการกำหนด ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้ยังมีปัญหาถึงความไม่เหมาะสมบางประการ เอกัตศึกษาเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาปัญหาของมาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปีในประเทศไทย ตลอดจนศึกษามาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศมาเลเซียและประเทศกรีซเพื่อนำแนวทางมาปรับใช้ในบางประเด็น จากการศึกษาพบว่า มาตรการช็อปช่วยชาติมีปัญหาบางประการ กล่าวคือ มาตรการดังกล่าวอาจส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวแบบกระจุกตัวกับธุรกิจขนาดใหญ่ รวมถึงก่อให้เกิดการชะลอการใช้จ่ายและเป็นการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น จากประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น มาตรการช็อปช่วยชาติควรขยายฐานผู้ขายรวมถึงการช็อปปิ้งในแหล่งท่องเที่ยวต่างจังหวัดหรือ SMEs รวมถึงกลุ่มเกษตรกรที่ทางการรับรองและผู้ขายสินค้าโอทอปเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวแบบกระจายตัวมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ควรลดหย่อนภาษีการท่องเที่ยวโดยกระตุ้นการท่องเที่ยวในเมืองรองในประเทศไทยเพิ่มเติมเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตแบบกระจายไปสู่ชุมชนท้องถิ่นและสู่เศรษฐกิจฐานราก ในเรื่องระยะเวลาของมาตการนั้น มาตรการช็อปช่วยชาติควรนำแนวทางของประเทศมาเลเซียและกรีซมาปรับใช้โดยให้สิทธิลดหย่อนภาษีทั้งปีโดยอาจเริ่มจากการพิจารณาให้สิทธิลดหย่อนภาษีเป็นเวลา 3 หรือ 5 ปีก่อนเพื่อพิจารณาถึงผลลัพธ์ของมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจว่าบรรลุวัตถุประสงค์ได้จริงหรือไม่ สำหรับประเด็นเรื่องประเภทของสินค้าและบริการที่เข้าเงื่อนไขนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ มาตรการนี้ควรขยายประเภทของสินค้าได้มากขึ้น สินค้าและบริการที่เข้าเงื่อนไขได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีควรเป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิตและไม่สมควรให้อาบอบนวดและสินค้าฟุ่มเฟือยนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ภาครัฐควรมีการเก็บข้อมูลศึกษาถึงต้นทุนของมาตรการรวมถึงการเติบโตของเศรษฐกิจจากมาตรการนี้เพื่อประเมินความคุ้มค่าของมาตรการ เพื่อที่ภาครัฐจะได้นำมาพิจารณาปรับปรุงมาตรการให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สุภกิจพาณิชกุล, ณัฐฐา, "ปัญหาและแนวทางแก้ไขปรับปรุงมาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปีในประเทศไทย" (2017). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 6797.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/6797