Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2017
Document Type
Independent Study
First Advisor
ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2017.41
Abstract
นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันปัญหาอาคารถล่มเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง นำมาซึ่งความสูญเสียมากมาย รวมทั้งกระทบถึงเศรษฐกิจ และภาพลักษณ์ของประเทศไทยในการก่อสร้าง อาคารต่าง ๆ ทำให้อาชีพวิศวกรโดยเฉพาะวิศวกรโยธา ซึ่งเป็นงานเกี่ยวกับโครงสร้างรากฐานจึงมีความสำคัญและมีความจำเป็น เพราะลักษณะงานของอาชีพดังกล่าวมีความสัมพันธ์กัน โดยกระทบกับความมั่นคง แข็งแรงของตัวอาคาร อันเป็นความปลอดภัยสาธารณะนั่นเอง โดยวิชาชีพวิศวกรรมโยธา ซึ่งเป็น 1 ใน 39 อาชีพและวิชาชีพที่ถูกกำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่กระทบต่อความมั่นคงและประโยชน์ของประเทศชาติ ด้วยว่าเกี่ยวกับด้านสาธารณูปโภคของประเทศซึ่งต้องเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่จะต้องทำการจัดหาให้แก่ประชาชนในประเทศ ในขณะที่แนวทางปฏิบัติของสภาวิศวกรได้ผ่อนปรนให้วิศวกรต่างด้าวเข้ามาประกอบวิชาชีพวิศวกรรมโยธาได้ ภายใต้การขอรับใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ทำให้วิศวกรต่างด้าวกระทำการต่าง ๆ ได้ตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ซึ่งรวมถึงการลงนามรับรองออกแบบและคำนวณอาคารด้วย จากการศึกษาความเคร่งครัดของกฎหมาย ข้อบังคับ และกฎระเบียบที่ควบคุมวิชาชีพวิศวกรรมสาขาวิศวกรรมโยธา กับหลักในทางปฏิบัตินั้นยังมีความไม่สอดคล้องกัน ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาและพบว่ามีผลกระทบในหลากหลายบริบท ดังเช่น ปัญหาในการเยียวยาความเสียหายในอนาคต, ปัญหาทางเศรษฐกิจ, ปัญหาทางสังคม และ ปัญหาความมั่นคง อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ในวงจำกัด ได้แก่ ผู้ประกอบการ และเทคโนโลยีจากวิศวกรต่างด้าว ดังนั้นควรจะมีการจำกัดขอบอำนาจลักษณะงานที่อนุญาตให้วิศวกรต่างด้าวทำงานไม่ให้ขัดกับกฎหมายการทำงานคนต่างด้าว โดยมีการระบุไว้ให้ชัดเจนในกฎกระทรวงวิชาชีพวิศวกรรมถึงการพิจารณาคุณสมบัติวิศวกรต่างด้าว ที่มาทำการยื่นขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพระดับภาคีวิศวกรพิเศษและถึงแม้ว่า มีข้อยกเว้นสำหรับวิศวกรรมโยธาที่ชำนาญงานพิเศษ แต่ไม่สามารถรับรองได้แน่ชัดว่าจะไม่เกิดความผิดพลาดจากการออกแบบและคำนวณอาคารจากวิศวกรโยธาต่างด้าวผู้ชำนาญงานพิเศษ และเมื่อเกิดความเสียหายเกิดปัญหาฟ้องร้องเยียวยากันในอนาคต อีกทั้งเป็นการยากที่ให้วิศวกรผู้นั้นมารับผิดทำ จึงเห็นสมควรให้แก้ไขขอบเขตอำนาจที่ระบุในกฎกระทรวงวิชาชีพวิศวกรรมไม่ให้วิศวกรต่างด้าวสาขาวิศวกรรมโยธากระทำการได้ หรืออีกแนวทางหนึ่งคือหากกระทำการได้ ต้องอยู่ภายใต้การรับรองจากวิศวกรโยธา
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ศิริจันทรา, กนิษฐา, "ปัญหาการยอมรับวิศวกรต่างด้าวที่ขึ้นบัญชีวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ระดับภาคีวิศวกรพิเศษ) กับอาชีพสงวนตามกฎหมายเกี่ยวกับการทำงานคนต่างด้าว : กรณีศึกษาสาขาวิศวกรรมโยธา" (2017). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 6791.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/6791