Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2017

Document Type

Independent Study

First Advisor

ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2017.24

Abstract

การศึกษาเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าเพราะการพัฒนาประเทศต้องอาศัยกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถเป็นสำคัญ ทั้งนี้การจัดบริการการศึกษาแก่ประชาชนถือเป็นหน้าที่รัฐ แต่เนื่องจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐไม่สามารถรองรับจำนวนผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาได้ทั้งหมด รัฐจึงมีความประสงค์ที่จะส่งเสริมให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาการศึกษา จึงได้ใช้มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของเอกชนโดยกำหนดเป็นบทบัญญัติของพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 284) พ.ศ.2538 เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ประกอบกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสำหรับเงินได ที่เป็น (1) กำไรสุทธิจากกิจการ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน (2) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ไดhจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่ประกอบกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ทั้งนี้ การจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546 ได้กำหนดให้ต้องมี “ผู้รับใบอนุญาต” ดำเนินการขอจัดตั้งและเมื่อได้รับอนุญาตให้จัดตั้งแล้ว พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนมีสถานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งถือว่ามีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเฉพาะ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนจึงเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้รับใบอนุญาตที่เป็นบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มูลนิธิ สมาคม ที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลตาม มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร การบัญญัติกฎหมายยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 284) พ.ศ.2538 ในทางปฏิบัติจึงไม่สามารถยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ได้จากกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้จริง เนื่องจากกรมสรรพากรและศาลฎีกา ถือว่าสถาบันอุดมศึกษาเอกชนกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลผู้รับใบอนุญาตมิได้เป็นบุคคลเดียวกัน ดังนั้น ผลประโยชน์หรือผลตอบแทนที่บริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้รับใบอนุญาตได้รับ จึงมิใช่กำไรสุทธิที่อยู่ในข่ายได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถือ เป็นรายได้ที่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทผู้ประกอบกิจการ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ส่งผลให้การบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งประสงค์บรรเทาภาระภาษีแก่ผู้ประกอบกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แต่กลับ ก่อให้เกิดภาระภาษีแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ประกอบกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แทน จึงเป็นการสร้างความไม่เป็นธรรมแก่เอกชนผู้ประกอบกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.