Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2017

Document Type

Independent Study

First Advisor

ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2017.13

Abstract

ในปัจจุบันการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เป็นที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างมีความหลากหลายเพื่อ ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงไปของเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ การจัดเก็บภาษีทรัพย์สินในประเทศไทยประกอบไปด้วยกฎหมายหลายฉบับ แต่ภาษีทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการถือครองทรัพย์สินที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปัจจุบันคือ ภาษีโรงเรือนและที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ซึ่งภาษีโรงเรือนและที่ดินนั้นจัดเก็บภาษีจากผู้เป็นเจ้าของโรงเรือนและที่ดินซึ่งในที่นี้ ที่ดินกินความหมายถึงทางน้ำ บ่อน้ำ สระน้ำด้วย และโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นก็กินความหมายถึงแพด้วย ในส่วนของภาษีบำรุงท้องที่เป็นภาษีจัดเก็บจากผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินอยู่ ณ วันที่ 1 มกราคม ของปีใดๆ ทั้งนี้ ทั้ง 2 กฎหมายที่กล่าวข้างต้นมีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการคำนวณฐานภาษีโดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกันสำหรับทรัพย์สินทุกประเภทโดยตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินโดยการคำนวณฐานภาษีจาก “ค่ารายปี” สำหรับทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีทุกประเภทโดยกำหนดนิยามของ “ค่ารายปี” ว่าคือจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้น สมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ นอกจากนี้ ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ได้กำหนดให้ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดิน ณ วันที่ 1 มกราคมของปีใด มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่จากฐานภาษี “ราคาปานกลางของที่ดิน” ดังนั้น จะเห็นได้ว่าหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งฐานภาษีของทั้งภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ที่กำหนดขึ้นมานั้นใช้ฐานภาษีและวิธีการคำนวณเดียวกันสำหรับทรัพย์สินทุกประเภทโดยไม่ได้คำนึงถึงลักษณะการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่มีความแตกต่างกันการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเพื่อให้ได้มาซึ่งฐานภาษีที่เป็นแบบเดียวกันสำหรับทรัพย์สินทุกประเภทในขณะที่ทรัพย์สินแต่ละประเภทนั้นมีลักษณะการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกันทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ทั้งนี้ จากการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายภาษีทรัพย์สินของประเทศฟิลิปปินส์หรือ ภาษี Real Property Tax (RPT) พบว่าหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีของประเทศฟิลิปปินส์นั้นมีการพิจารณาแบ่งประเภททรัพย์สินตามลักษณะการใช้ประโยชน์และมีหลักเกณฑ์ในการคำนวณฐานภาษีที่แตกต่างกันสำหรับทรัพย์สินที่ใช้ประโยชน์ไม่เหมือนกัน ซึ่งอาจนำหลักการดังกล่าวมาปรับใช้ได้กับการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินในประเทศไทย

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.