Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

ธรณีโบราณคดีของการตั้งถิ่นฐานชุมชนโบราณในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้านตะวันออก บริเวณจังหวัดศรีสะเกษและยโสธร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

Montri Choowong

Faculty/College

Faculty of Science (คณะวิทยาศาสตร์)

Department (if any)

Department of Geology (ภาควิชาธรณีวิทยา)

Degree Name

Master of Science

Degree Level

Master's Degree

Degree Discipline

Earth Sciences

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.184

Abstract

Archaeology in Thailand is generally associated with geological application. In this work, the relationship between ancient site settlement and geomorphology is carried out under geoarchaeological approach. Study area is located on the eastern Thungkula Ronghai (TKR) bordered between Mun and Chi Rivers in Srisaket and Yasothon where many archaeological sites have been found. The research focuses on aerial photograph and satellite imaginary interpretation, application of ground penetrating radar (GPR) on sand splays morphology and GIS software to analyze ancient site location on geomorphology for reconstructing the relationship of human past with their landscapes. Results indicate the interesting landforms of the study area including paleochannels, annular depression landform (ADL) and aeolian sand splays. 54 archaeological sites are almost placed close to paleochannel with ADL, in contrast to a few moated sites located on distal sand splay due to shallow groundwater level and short distance from streams. In addition, the historical settlement associated with the sand splays, especially the temples. They can be explained under approach of landscape archaeology that the religion or the faith is realized. Finally, the spatial analysis suggests that "water resources" with higher elevation are the major factor for considering to be occupied. The moats and earthworks are implied to an adaptation of water management for using in living and agriculture.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

การศึกษางานโบราณคดีในประเทศไทยปัจจุบัน มักมีความเกี่ยวข้องกับงานด้านธรณีวิทยาในแง่ของการนำทฤษฎี เทคนิค และเครื่องมือมาประยุกต์ใช้ สำหรับงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณกับรูปแบบธรณีสัณฐานภายใต้แนวคิด "ธรณีโบราณคดี" บริเวณพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้านตะวันออก ในเขตจังหวัดศรีสะเกษและยโสธร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยจากการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นได้พบชุมชนโบราณตั้งอยู่ในพื้นที่ศึกษาทั้งหมด 54 แห่ง มีอายุสมัยตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย (2,500 - 1,500 ปีมาแล้ว) จนถึงยุคประวัติศาสตร์สมัยทวารวดีและเขมร (ราวพุทธศตวรรษที่ 13-18) ซึ่งผู้วิจัยได้นำวิธีการศึกษาทางด้านธรณีสัณฐานมาประยุกต์ใช้ในการศึกษา อันได้แก่ ข้อมูลโทรสัมผัส เครื่องมือธรณีฟิสิกส์ และการสำรวจทางธรณีวิทยา จากการศึกษาพบว่า ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้านตะวันออกระหว่างแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี มีลักษณะรูปทางธรณีสัณฐานที่สำคัญทั้งหมด 3 รูปแบบ ได้แก่ ร่องรอยทางน้ำโบราณ โดมเกลือระดับตื้น หรือ แอ่งยุบภูมิลักษณ์วงแหวน และเนินลมพาทรายแผ่ ซึ่งชุมชนโบราณในพื้นที่ศึกษาส่วนใหญ่มักนิยมเลือกตั้งอยู่บนเนินดินของแอ่งยุบภูมิลักษณ์วงแหวนใกล้กับทางน้ำโบราณ อย่างไรก็ตาม พบชุมชนโบราณบางแห่ง ที่เลือกตั้งถิ่นฐานอยู่บนส่วนปลายของเนินลมพาทรายแผ่ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีแหล่งน้ำจืดที่อยู่ใต้ดินในระดับตื้น และใกล้กับลำน้ำ รวมถึงบริเวณเนินทรายนั้นมีระดับความสูงกว่าพื้นที่โดยรอบ สามารถป้องกันน้ำท่วม และใช้ประโยชน์ของที่ราบน้ำท่วมถึงในการทำเกษตรกรรมได้ นอกจากนี้ ได้พบแหล่งศาสนสถานที่มีอายุอยู่ในสมัยทวารวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ 13-15) มักนิยมเลือกตั้งอยู่บนเนินลมพาทรายแผ่ สันนิษฐานว่าน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับศาสนาและความเชื่อ ณ พื้นที่ดังกล่าว โดยสรุปจะพบว่า การเลือกตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณทั้ง 2 ยุค แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ในอดีตที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้านตะวันออกได้คำนึงถึงปัจจัยทางธรรมชาติในการเลือกตั้งถิ่นฐานเป็นหลัก คือ ระดับความสูง และแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งบางชุมชนมีการปรับสภาพพื้นที่ธรรมชาติโดยการสร้างคูน้ำและคันดินเพื่อใช้ในการจัดการน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคและเกษตรกรรมเพาะปลูกข้าว

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.