Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Good Prognosis of Adult Hemophagocytic lymphohistiocytosis (HLH) associated with the HAVCR2 germline mutation
Year (A.D.)
2022
Document Type
Thesis
First Advisor
จันทนา ผลประเสริฐ
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
อายุรศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2022.1029
Abstract
ภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมเป็นภาวะที่มีการกระตุ้นของภูมิกันที่มากจนเกินไป โดยสาเหตุของภาวะนี้ได้แก่ โรคมะเร็ง, การติดเชื้อ และภาวะภูมิคุ้มกันต้านตนเอง และในบางกรณีไม่ทราบสาเหตุ ในงานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการกลายพันธุ์แต่กำเนิดของยีนเอชเอวีซีอาร์ทูซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนิดวาย 82 ซี (Y82C) กับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดทีเซลล์ชื่อว่า subcutaneous panniculitis-like T-cell lymphoma (SPTCL) งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อหาอุบัติการณ์ของการกลายพันธุ์ยีนเอชเอวีซีอาร์ทูในผู้ป่วยที่มีภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมจากมะเร็งต่อมน้ำเหลือง SPTCL และกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุ และเปรียบเทียบลักษณะทางคลินิก (clinical outcome) รวมถึงอัตราการมีชีวิตรอด (survival outcome) กับภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมจากสาเหตุอื่นๆ งานวิจัยรวบรวมผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปที่มีภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมจากเกณฑ์การวินิจฉัยของปี 2004 (HLH-2004 criteria) หรือผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกที่เข้าได้กับภาวะนี้แม้ไม่ครบตามเกณฑ์วินิจฉัย นำชิ้นเนื้อที่เก็บในพาราฟิน หรือเลือดมาสกัดดีเอนเอและใช้เทคนิคการหาลําดับนิวคลีโอไทด์ (DNA sequencing) เพื่อตรวจหายีนเอชเอวีซีอาร์ทูตำแหน่งวาย 82 ซี (Y82C) ในผู้ป่วยที่มีภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด SPTCL และไม่ทราบสาเหตุ ผลการศึกษา รวบรวมผู้ป่วยทั้งหมด 65 คน โดยเป็นผู้ชาย 60% และมีค่ามัธยฐานอายุที่ 45 ปี ตรวจพบการกลายพันธุ์ยีนเอชเอวีซีอาร์ทูทั้งหมด 9 (13.8%) คน โดยเป็นผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด SPTCL 5 คน และไม่ทราบสาเหตุอีก 4 คน สาเหตุอื่นของภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมได้แก่ โรคมะเร็งที่ไม่ใช่มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด SPTCL 22 (33.8%) คน, ไม่ทราบสาเหตุและไม่มีการกลายพันธุ์ของยีนเอชเอวีซีอาร์ทู 18 (27.7%) คน, การติดเชื้อ 10 (15.4%) คน และภาวะภูมิคุ้มกันต่อตัวเอง 6 (9.2%) คน โดยผู้ป่วยที่มีการกลายพันธุ์ของยีนเอชเอวีซีอาร์ทูมีการรอดชีวิตที่ดีกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยมี hazard ratio (HR) 0.218; 95% Confidence interval (CI) 0.05-0.90, p-value 0.036 และกลุ่มที่มีการกลายพันธุ์นี้เองมีระดับฮีโมโกลบินที่สูงกว่า และระดับนิวโตรฟิลที่ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ โดยสรุป การกลายพันธุ์ของยีนเอชเอวีซีอาร์ทูสามารถที่จะแบ่งเป็นกลุ่มย่อยหนึ่งของภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรม ซึ่งมีอัตราการรอดชีวิตที่ดีกว่า รวมถึงช่วยบอกพยากรณ์โรคของภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมได้
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Hemophagocytic lymphohistiocytosis (HLH) is immune overactivation condition. Etiologies included malignancies, infections, and autoimmune diseases. Recent studies identified association between germline HAVCR2 mutations, commonly p.Y82C, in subcutaneous panniculitis-like T-cell lymphoma (SPTCL) and HLH. We aimed to explore the incidence of germline HAVCR2 mutation in SPTCL-associated and idiopathic HLH and compare clinical outcomes with HLH from other causes. We collected patients, aged 15 or older, with HLH or HLH-like systemic illness. HLH was defined according to the HLH-2004 criteria. While HLH-like systemic illness was incomplete HLH-2004 criteria patients, but clinically consistent with HLH. Direct sequencing was done in idiopathic and SPTCL-associated HLH to detect germline HAVCR2 p.Y82C. DNA was extracted from formalin-fixed paraffin-embedded specimens or blood samples. Of the 65 patients, 60% were male with median age of 45-year-old. We detected germline HAVCR2 mutations in 9 (13.8%) cases; 5 SPTCL and 4 idiopathic HLH. The other causes of HLH were 22 (33.8%) cases of hematologic malignancies excluding SPTCL, 18 (27.7%) idiopathic HLH without HAVCR2 mutation, 10 (15.4%) infections and 6 (9.2%) autoimmune diseases. Germline HAVCR2 mutation patients showed superior survival than the others with hazard ratio 0.218; 95% Confidence interval 0.05-0.90 and p-value 0.036. Patients with germline HAVCR2 mutations showed significantly higher hemoglobin levels but lower absolute neutrophil count. In conclusion, germline HAVCR2 mutations define a subgroup of HLH with better survival than the others and help to determine the prognosis of HLH.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
บุญญาบารมี, พิชยุตม์, "ความสัมพันธ์ระหว่างการพยากรณ์โรคที่ดีของผู้ป่วยที่มีภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมและการกลายพันธุ์ของยีนเอชเอวีซีอาร์ทู" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 6739.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/6739