Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Covid-19 vaccines and flares of psoriasis, a cross-sectional descriptive study

Year (A.D.)

2022

Document Type

Thesis

First Advisor

ประวิตร อัศวานนท์

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

อายุรศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2022.1017

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษา ลักษณะของผื่นที่กำเริบ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกำเริบของผื่น และความแตกต่างในการกำเริบของสะเก็ดเงินกับวัคซีนแต่ละชนิด วิธีการศึกษา : ทำการสำรวจผู้ป่วยที่มีรายชื่อเข้ารับการตรวจในคลินิกผิวหนังและสะเก็ดเงินของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในปี พ.ศ. 2561-2564 ทั้งหมด 176 คน โดยใช้แบบสอบถามทางโทรศัพท์ เพื่อประเมินการกำเริบของผื่นในด้าน จำนวนของผื่น ความแดง ความคัน และชนิดของผื่นที่เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะของ self-report จากผู้ป่วย รวมถึงเก็บข้อมูลในด้าน อายุ เพศ ดัชนีมวลกาย โรคประจำตัว ยาที่ใช้ในปัจจุบัน ชนิดวัคซีนที่ฉีด และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การตั้งครรภ์ และความเครียด ผลการศึกษา: พบการกำเริบของสะเก็ดเงินภายหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั้งหมด 28% จากผู้ป่วยทั้งหมด เมื่อแบ่งตามชนิดของวัคซีน พบการกำเริบของสะเก็ดเงินที่ 15% , 18% และ 15% สำหรับวัคซีนชนิด inactivated, viral vector และ mRNA ตามลำดับ โดยระยะเวลาการกำเริบของผื่นภายหลังการฉีดวัคซีนอยู่ที่ 1วัน- 14 วัน และผื่นดีขึ้นที่ 3 วัน- 4 เดือน โดยที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการรักษา นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยจำนวน 1 คน ที่มีลักษณะผื่นเปลี่ยนจาก plaque type เป็น pustular type จากการศึกษาไม่พบความสัมพันธ์ของ อายุ เพศ ดัชนีมวลกาย ชนิดของสะเก็ดเงิน โรคประจำตัว และยาที่ใช้ในปัจจุบัน กับการกำเริบของผื่นสะเก็ดเงิน รวมถึงไม่พบความแตกต่างระหว่างการกำเริบของสะเก็ดเงินกับชนิดของวัคซีน สรุปผล: การกำเริบของสะเก็ดเงินภายหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นผลข้างเคียงที่สามารถพบได้ โดยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างชนิดของวัคซีนกับการกำเริบของผื่น โดยการกำเริบของสะเก็ดเงินภายหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 นั้นมักไม่รุนแรงและสามารถดีขึ้นได้เอง

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Objectives: To determine demographics, clinical variables, difference in vaccination type and outcomes associated with psoriasis flares following COVID-19 vaccination. Materials and Methods: We recruited all patients, who had visited psoriasis clinic at King Chulalongkorn Memorial Hospital during 2018 – 2021 whom we could reach, totaling 176. The exacerbation of psoriasis was evaluated by telephone self-report questionnaire. A flare of psoriasis was defined from 4 aspects including number of lesions, redness, itch, and morphological changes. Patient baseline clinical characteristic, comorbidities, type of vaccination and other trigger factors including smoking, alcohol intake, pregnancy and stress were also collected. Results: Psoriasis flare following COVID-19 vaccination was observed 28% from self-report questionnaire. The exacerbation of psoriasis was 15%, 18% and 15% from inactivated, viral vector and mRNA vaccine, respectively. Flare onset ranged from 1 day to 14 days. Most of the patients experienced favorable outcomes, with improvement within 3 days to 4 months. One patient showed morphologic change from plaque-type to pustular psoriasis. The deterioration of psoriasis was not statistically associated with baseline characteristic, comorbidities, current treatment, and type of vaccination. Conclusion: Psoriasis flare was reported as an adverse event following covid-19 vaccination with no statistically association to vaccination type. However, most of the patients experienced self-limited resolution.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.