Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Development of executive function training program for enhancing cognitive flexibility and digital literacy of upper primary school students
Year (A.D.)
2022
Document Type
Thesis
First Advisor
ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Department (if any)
Department of Educational Research and Psychology (ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิธีวิทยาการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2022.791
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์สถานการณ์การรู้ดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย 2. ออกแบบต้นแบบโปรแกรมการฝึกทักษะสมองอีเอฟในการส่งเสริมการยืดหยุ่นทางความคิดและการรู้ดิจิทัลและ 3. วิเคราะห์ผลการใช้โปรแกรมการฝึกทักษะสมองอีเอฟ ในการส่งเสริมการยืดหยุ่นทางความคิดและการรู้ดิจิทัล สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย และเปรียบเทียบคะแนนการยืดหยุ่นทางความคิดและการรู้ดิจิทัลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และ 4. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการยืดหยุ่นทางความคิดและการรู้ดิจิทัล ผู้วิจัยแบ่งขั้นตอนการดำเนินการออกเป็น 3 ระยะเพื่อตอบวัตถุประสงค์แต่ละข้อ ดังนี้ ระยะที่ 1 เป็นการทำความเข้าใจและวิเคราะห์สถานการณ์ กับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 69 คนและครูผู้สอนจำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือ แบบสังเกตพฤติกรรมและแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า ครูประจำชั้นและครูผู้สอน สอดแทรกในการสอนและการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการยืดหยุ่นทางความคิด บางส่วน โดยส่วนใหญ่เป็นการฝึกความคิดสร้างสรรค์ให้กับนักเรียน รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมการรู้ดิจิทัลของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง (M=6.25, SD=2.63) หมายถึง มีปัญหาพฤติกรรมการรู้ดิจิทัลบางรายการ แบ่งตามองค์ประกอบรายย่อยคือ ด้านการใช้งาน และด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับปานกลาง หมายถึง มีปัญหาการรู้ดิจิทัลบางรายการ ควรได้รับการส่งเสริม และด้านการตระหนักรู้ อยู่ในระดับน้อย หมายถึง มีปัญหาการรู้ดิจิทัล ควรได้รับการปรับปรุง ระยะที่ 2 เป็นการออกแบบต้นแบบโปรแกรมการฝึกทักษะสมองอีเอฟ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนานักเรียน จำนวน 5 คน ร่วมอภิปรายกลุ่ม รูปแบบชุดกิจกรรมประกอบด้วย แผนกิจกรรมทั้งหมด 10 ครั้ง ๆ ละ 60 นาที ผู้วิจัยพัฒนาจากกรอบแนวคิด ได้แก่ ข้อมูลการศึกษาระยะที่ 1 รวมถึงข้อมูลผลการระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาต้นแบบ และข้อมูลการสังเคราะห์ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะสมองอีเอฟในกลุ่มทักษะพื้นฐาน ประกอบด้วย (1) การจำเพื่อใช้งาน (2) การยั้งคิดไตร่ตรอง และ (3) การยืดหยุ่นทางความคิด ระยะที่ 3 เป็นการทดลองใช้ต้นแบบ โดยดำเนินการทดลองกับตัวอย่างวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 69 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน ที่ และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) โปรแกรมการฝึกทักษะสมองอีเอฟ 2) แบบวัดการยืดหยุ่นทางความคิด 3) แบบวัดการรู้ดิจิทัล ดำเนินการแผนการจัดกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระ (dependent sample t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบทางเดียว (One-Way MANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะสมองอีเอฟ ระยะหลังทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการยืดหยุ่นทางความคิด (M=29.68, SD=2.68) สูงกว่าระยะก่อนการทดลอง (M=26.08, SD=3.04) และค่าเฉลี่ยของการรู้ดิจิทัล (M=50.11, SD=4.52) สูงกว่าระยะก่อนการทดลอง (M=46.91, SD=5.03) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะสมองอีเอฟ ค่าเฉลี่ยของคะแนนการยืดหยุ่นทางความคิดและค่าเฉลี่ยของคะแนนการรู้ดิจิทัลแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 [F(2, 66) = 23.558, p = .000] และผลการสังเกตพฤติกรรมนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมของต้นแบบโปรแกรมฯ โดยวัดผลตามองค์ประกอบ 3 ทักษะพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยของคะแนนรวมการฝึกทักษะสมองอีเอฟ อยู่ในระดับดี (M=10.20, SD=0.55) และ 3) ผลการวิเคราะห์สัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันระหว่างการยืดหยุ่นทางความคิดและการรู้ดิจิทัล มีค่าเท่ากับ .543 (p = .000) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of the research is to 1) analyze the situation regarding cognitive skill and digital literacy of upper primary school students, 2) develop a prototype of executive function training program, 3) examine effects of executive function training program of upper primary school students, and 4) analyze the relationship between cognitive flexibility and digital literacy. This study applies the design thinking process as a research design and consists of Three phases. Phase 1: involves the process of emphasize and analyzing the situation. The participations of this phase consist of 69 sixth-grade students and 3 teachers. The instruments are behavior observation checklist and semi-structured interview. Result of this study are as follows: 1): Teachers teaching, and partially incorporate activities related to enhancing student’s cognitive flexibility, primarily through fostering creative thinking skill. Level of digital literacy behavior of students is at a moderate level (M=6.25, SD=2.63) indicating that there are some issues with certain aspects of digital literacy behavior. Regarding sub-components, a component of student usability of digital literacy and a component of communication are at moderate level. This indicates that students are needed to develop in these components. A component of cooperation and awareness are at low level, respectively. This means that students are needed to be improved these components. Phase 2: Prototype of executive function training program contains 10 training sessions including (1) working memory: applying prior knowledge, (2) Inhibitory control: self-control in adhering to agreements, and (3) Cognitive flexibility: not being attached and having diverse thinking methods. Phase 3: The prototype was implemented for participants. The participants of this study consist of 69 sixth-grade students, consisting of 35 experimental group students and 34 control group students. The instruments used in the research include 1) Executive function training program, 2) Cognitive flexibility questionnaire, and 3) Executive function for digital literacy questionnaire. The training program contains 10 periods with 60 minutes. Data analysis employs Multivariate Analysis of Variance (One-Way MANOVA). Results of this study are as follows: 1) An experimental group significantly gains a higher cognitive flexibility and digital literacy scores than those of a control group (Mexperimental group = 29.68, SDexperimental group = 2.68, Mcontrol group = 25.23, SDcontrol group = 3.10, Mexperimental group = 50.11, SDexperimental group = 4.52, Mcontrol group = 43.79, SDcontrol group = 6.44), respectively. 2) After the intervention the experimental and control groups have different levels of cognitive flexibility [F(1, 67) = 40.603, p = .000] and digital literacy [F(1,67 = 22.307, p = .000] with a statistical significance of .05 and 3) Person correlation coefficient significantly yields at .543 (p = .000), indicating a moderate correlation between cognitive flexibility and digital literacy.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สุริวงศ์, ธนวินท์, "การพัฒนาโปรแกรมการฝึกทักษะสมองอีเอฟ เพื่อส่งเสริมการยืดหยุ่นทางความคิดและการรู้ดิจิทัล สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 6501.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/6501