Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Effects of plyometric training on neuromuscular and knee functions in patients with anterior cruciate ligament reconstruction

Year (A.D.)

2022

Document Type

Thesis

First Advisor

นภัสกร ชื่นศิริ

Second Advisor

พิสิฏฐ์ เลิศวานิช

Faculty/College

Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย

DOI

10.58837/CHULA.THE.2022.767

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกพลัยโอเมตริกต่อการทำงานของประสาทกล้ามเนื้อและข้อเข่าในผู้ป่วยผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าจำนวน 24 คน โดยทำการแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับการฝึกพลัยโอเมตริกจำนวน 12 คน และกลุ่มที่ได้รับการฝึกแรงต้านจำนวน 12 คน ฝึกจำนวน 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ทั้งหมด 8 สัปดาห์ ผู้ป่วยแต่ละคนจะได้รับการทดสอบก่อนและหลังได้รับการฝึก การทดสอบประกอบด้วย การกระโดดด้วยขาเพียงข้างเดียวระยะทาง 6 เมตร การรับรู้ตำแหน่งของข้อเข่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การทรงตัวแบบอยู่กับที่และเคลื่อนไหว ความสามารถในการเคลื่อนที่ และการประเมินการทำงานของข้อเข่า ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าภายหลังการฝึก 8 สัปดาห์ ทั้ง 2 กลุ่มมีการพัฒนาการกระโดดด้วยขาข้างเดียวระยะทาง 6 เมตร และความสามารถในการเคลื่อนที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) แต่มีเพียงกลุ่มที่ได้รับการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีค่าดัชนีความสมมาตรของขาทั้ง 2 ข้างเพิ่มขึ้นและมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการฝึกด้วยแรงต้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.004) นอกจากนี้กลุ่มที่ได้รับการฝึกพลัยโอเมตริกมีการพัฒนาการรับรู้ตำแหน่งของข้อเข่าได้มากกว่ากลุ่มได้รับการฝึกด้วยแรงต้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) รวมถึงการทรงตัวแบบอยู่กับที่และเคลื่อนไหวที่พัฒนาขึ้นเพียงกลุ่มที่ได้รับการฝึกพลัยโอเมตริกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยสรุปการการฝึกพลัยโอเมตริกและการฝึกแรงต้านสามารถพัฒนาการทำงานของประสาทกล้ามเนื้อและข้อเข่าได้เช่นเดียวกัน แต่การฝึกพลัยโอเมตริกดูมีแนวโน้มที่จะสามารถพัฒนาการทำงานของประสาทกล้ามเนื้อได้ดีกว่าการฝึกแรงต้าน โดยเฉพาะดัชนีความสมมาตรของการกระโดดด้วยขาเพียงข้างเดียวระยะทาง 6 เมตร และการรับรู้ตำแหน่งของข้อเข่า รวมถึงเป็นการฝึกที่ปลอดภัย และไม่ก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดสร้างเอ็นไขว้หน้า

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this study was to investigate the effect of plyometric training on neuromuscular and knee functions in patients after ACL reconstruction. Twenty-four patients were randomized into 2 groups, the plyometric training group (n = 12) or the resistance training group (n = 12). Both groups were instructed to perform 2 training sessions per week for an 8-week period. The participants were assessed before and after training period for single leg 6-meter timed hop test, knee joint position sense, isokinetic muscle strength, static and dynamic balance, functional movement, and the International Knee Documentation Committee scores. After 8 weeks, both groups were improved 6-meter timed hop and Y-shaped agility test (p<0.001). The limb symmetry index of the plyometric group was significantly higher than the resistance group (p=0.004). The plyometric group was significantly higher knee joint position sense than the resistance group (p<0.001). Additionally, static and dynamic balance were significantly improved only in plyometric group (p<0.001). In conclusion, both training programs can develop to neuromuscular and knee function. However, the plyometric training seems to improved limb symmetry index and knee joint position sense than the resistance training program. Moreover, plyometric program is safe that all patients can perform the training without any adverse effect.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.