Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The study of King Rama VI’s speeches as didactic literature
Year (A.D.)
2022
Document Type
Thesis
First Advisor
น้ำผึ้ง ปัทมะลางคุล
Faculty/College
Faculty of Arts (คณะอักษรศาสตร์)
Department (if any)
Department of Thai (ภาควิชาภาษาไทย)
Degree Name
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ภาษาไทย
DOI
10.58837/CHULA.THE.2022.713
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะเด่นด้านคำสอนและกลวิธีการประพันธ์ที่ปรากฏในพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยศึกษาจากเอกสารพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2453 – 2468 จำนวน 155 องค์ ผลการวิจัยพบว่า พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแก่คณะบุคคล โดยมีเนื้อความที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการสื่อสารให้แก่ผู้รับสารที่มีความหลากหลาย ลักษณะเด่นด้านคำสอนที่มุ่งเน้นในเรื่องความเป็นพลเมืองที่ดีให้แก่กลุ่มคนต่าง ๆ ในสังคมมีความเชื่อมโยงกับบริบททางสังคมในสมัยนั้นและสอดคล้องกับแนวคิดทางด้านการปกครองของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พลเมืองที่ดีเป็นพลเมืองที่มีความรักชาติ รู้จักหน้าที่ของตนเอง เป็นผู้มีคุณธรรมและเป็นผู้มีการศึกษา โดยการสร้างความเป็นพลเมืองที่ดีเพื่อมุ่งหวังให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข และประชาชนเห็นความสำคัญในการทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมในฐานะเป็นพลเมืองของสังคมและพลเมืองโลก ด้านกลวิธีการประพันธ์ในพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแสดงแนวคิดเรื่อง ความเป็นพลเมืองที่ดีผ่านกลวิธีการประพันธ์ที่มีวรรณศิลป์ นอกจากนี้ยังมีการผสมผสานสาธกโวหาร การเล่าประสบการณ์ และการใช้ภาษาเชิงวิพากษ์อย่างกลมกลืน กลวิธีการประพันธ์ดังกล่าวมาทำให้พระบรมราโชวาทมีความน่าสนใจและผู้รับสารสามารถเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการสื่อสารได้เป็นอย่างดี
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This research aimed to examine the doctrines and writing techniques utilized in the royal speeches of King Rama VI. A comprehensive analysis was conducted on a total of 155 speeches delivered between 1910 and 1925. The findings revealed that King Rama VI's royal speeches were directed towards various audience groups. The content of these speeches was tailored to effectively communicate with these diverse segments of society, aligning with the specific objectives of each communication. The doctrine's prominence is observed in its alignment with the social context of that era and is consistent with His Majesty's governance principles. King Rama VI emphasized that a good citizen exemplifies patriotism, understanding their individual responsibilities, and embodies virtues and education. By instilling the values of good citizenship on creating a harmonious and cooperative community, individuals are encouraged to recognize their roles as contributing members of society and global citizens. The crafting of the royal speeches of King Rama VI incorporates a blend of literary writing techniques, highlighting the concept of good citizenship. This includes a mix of rhetoric, recounting experiences, and skillful use of critical language. These composing strategies effectively captivate the audience's interest and enhance their understanding of the intended message, making the Royal Speech engaging and impactful.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ขาวสุทธิ์, อภิษฎา, "การศึกษาพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในฐานะวรรณกรรมคำสอน" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 6423.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/6423