Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The analysis of social dimensions of medical tourism

Year (A.D.)

2022

Document Type

Thesis

First Advisor

นฤมล อรุโณทัย

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

พัฒนามนุษย์และสังคม

DOI

10.58837/CHULA.THE.2022.697

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ เพื่อทำความเข้าใจการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในมิติทางสังคม สำรวจประเด็นสำคัญ และผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วและอาจจะเกิดขึ้นทางด้านสังคม สุขภาพ ที่อาจจะมาจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ โดยผู้วิจัยได้กำหนดระเบียบวิธีการวิจัยหรือกระบวนวิธีการวิจัยประกอบไปด้วยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์บุคคลจำนวน 20 คน จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและเขียนรายงานผลงานวิจัยในลักษณะเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า จากวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2540 โรงพยาบาลเอกชนต้องหาโอกาสใหม่ๆ ทดแทนการรายได้จากกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนไทย จึงได้หันไปหากลุ่มลูกค้าจากต่างประเทศซึ่งเป็นประเทศที่มีกำลังซื้อสูง ต่อมารัฐบาลประสบปัญหาขาดดุลเดินสะพัดติดต่อกันหลายปี จึงได้มีการกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย โดยไทยมีการท่องเที่ยวเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว มีกลุ่มสถานพยาบาลเอกชนที่ได้รับมาตรฐานด้านการบริการด้านสุขภาพหลายแห่ง ด้วยจุดแข็งเหล่านี้ จึงพัฒนาแผนและนโยบายเพื่อการเป็นศูนย์กลางสุขภาพ (Medical hub) ในระดับเอเชีย ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกมองไปในด้านของผลดีด้านเศรษฐกิจรายได้กำไรที่เพิ่มขึ้นของประเทศ จึงมีประเด็นว่าผลกระทบการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์นั้นมักจะไม่ได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเมื่อมีการผลักดันนโยบายนี้ ดังนั้น การศึกษามิติทางสังคมของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ได้สำรวจประเด็นสำคัญไว้ดังนี้ 1. แนวคิดและนิยามของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) และนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourists) 2. ผลกระทบต่ออัตรากำลังบุคลากรทางการแพทย์และอัตราค่ารักษาพยาบาล 3. ผลกระทบจากโลกาภิวัตน์และกระบวนการทำให้เป็นสินค้า 4. มาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาล 5. ผลกระทบด้านการแพร่กระจายปัญหาการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยา และโรคติดต่อที่ระบาดครั้งใหญ่ ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ ในอีกมุมหนึ่ง การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์มีส่วนที่ทำให้การรักษาพยาบาลในยุคปัจจุบันเปรียบเสมือนเป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่รองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติและกลุ่มคนที่มีฐานะด้านการเงิน เรื่องนี้จึงมีความซับซ้อนและต้องทำความเข้าใจจากหลายแง่มุม และจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะมีการศึกษาพิจารณาจากแง่มุมที่ไม่ได้มีการพูดถึงมากนัก ทั้งในเรื่องของคำนิยามและความหมายของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ตามกระแสเสรีนิยมใหม่ซึ่งทำให้เรื่องการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์โยงใยได้กับข้อถกเถียงเรื่องความเป็นธรรมทางสังคมที่เกิดขึ้นจากการส่งเสริมธุรกิจและอุตสาหกรรมนี้ การทำความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นจะนำไปสู่การสร้างแนวทางการเสริมความเป็นธรรมด้านสุขภาพและการกระจายผลประโยชน์ให้สังคมโดยรวมได้ต่อไป

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This research is a qualitative research. The objectives are studying, analyzing, and understanding social dimensions of medical tourism, exploring important issues and impacts that have already occurred or may occur from the promotion of medical tourism. The researcher used qualitative research methods consisting of documentary review and personal interviews of 20 persons who are knowledgeable about medical tourism and/or its impacts. Then the data were analyzed and written in descriptive form. From the research, it is found that after Thailand economic crisis of 1997, private hospitals had to find new ways to substitute their income from Thai customers by accepting foreign customers/patients from higher income countries. Later, the government faced serious continuous deficits for several years. As a result, a policy has been proposed to develop Thailand into a Medical Hub of Asia, as Thailand already has tourism as strong economic engine. In addition, there are a group of private hospitals that have received accreditation and high health service standard. With these strengths, Thailand has developed plans and policies for becoming a Medical Hub of Asia. This move has been considered from a very positive outlook with potentially high benefits for the country. However, considertation and caution should be made regarding the impacts of medical tourism. The social dimensions of medical tourism were explored on these important issues of: 1. Concepts and definitions of medical tourism and medical tourists, 2. The effect on medical workforce and cost of medical treatment, 3. The impact of globalization and the commoditization/commodification process, 4. Hospital quality standard and accreditation, 5. The impact of the spread of drug-resistant bacteria and major infectious diseases. Medical tourism plays a part in making modern-day medical care a commodity that caters to foreign tourists and people with higher income. This subject is complex and requires understanding from many angles. It is imperative that the issue be considered from aspects that have rarely been discussed, for example the definitions and meanings of medical tourism and medical tourists, the phenomenon of neoliberal globalization in which medical tourism is intertwined with the social equity debates arising from the promotion of such a business and industry. A clearer understanding will lead to further development of approaches to promote health equity and benefit distribution to society as a whole.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.