Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Protection of space tourists in suborbital flight: Studies relating to rescue and remedy

Year (A.D.)

2022

Document Type

Thesis

First Advisor

ภาวัฒน์ สัตยานุรักษ์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2022.649

Abstract

กิจกรรมการท่องเที่ยวอวกาศแบบ Suborbital Flight เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นใหม่และมีความเสี่ยงสูง โดยเมื่อพิจารณาจากลักษณะและปัจจัยต่าง ๆ ของกิจกรรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับทั้งห้วงอากาศและอวกาศ ส่งผลให้เกิดความไม่แน่ชัดว่ากิจกรรมดังกล่าวจะอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของระบอบกฎหมายอวกาศหรือระบอบกฎหมายอากาศ และก่อให้เกิดความท้าทายต่อกฎหมายระหว่างประเทศที่มีอยู่ในปัจจุบันว่าจะสามารถบังคับใช้กับกิจกรรมดังกล่าวได้อย่างครอบคลุมหรือไม่ โดยวิทยานิพนธ์นี้ศึกษาเฉพาะการคุ้มครองนักท่องเที่ยวอวกาศแบบ Suborbital Flight ในประเด็นการได้รับความช่วยเหลือเมื่อประสบภัยและการได้รับการชดใช้เยียวยาความเสียหาย จากการพิจารณากฎหมายระหว่างประเทศทั้งระบอบกฎหมายอวกาศและระบอบกฎหมายอากาศในประเด็นดังกล่าว พบว่ากฎหมายระหว่างประเทศที่มีอยู่ในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดในการบังคับใช้กับกิจกรรมการท่องเที่ยวอวกาศแบบ Suborbital Flight และส่งผลให้นักท่องเที่ยวอวกาศไม่สามารถได้รับความคุ้มครองในการได้รับความช่วยเหลือเมื่อประสบภัยและการได้รับการชดใช้เยียวยาความเสียหายจากระบอบกฎหมายทั้งสองได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิทยานิพนธ์จึงได้วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของระบอบกฎหมายทั้งสองและเสนอว่าควรนำข้อดีหรือจุดเด่นมากำหนดเป็นมาตรการทางกฎหมายระหว่างประเทศเป็นการเฉพาะสำหรับ Suborbital Flight เพื่อให้นักท่องเที่ยวอวกาศมีหลักประกันที่เป็นมาตรฐานทางกฎหมายระหว่างประเทศในการได้รับความคุ้มครองจากกรณีการได้รับความช่วยเหลือเมื่อประสบภัยและการได้รับการชดใช้เยียวยาความเสียหายที่ชัดเจนมากขึ้น

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Suborbital space tourism is an emerging and high-risk activity. Considering its operation in both air and space, its characteristics and factors result in several challenges and uncertainties as to under which international legal regime, whether air or space, should this activity be comprehensively enforced. This thesis undertakes to study on the issues of rescue in the event of distress and remedy for damages. Having studied both international laws on air and space, this thesis discovers that the existing international legal regime still retains certain restrictions and limitations when applied against suborbital flight activity. As a result, space tourists are unable to enjoy effective protection relating to rescue and remedies. This thesis, therefore, analyses the advantages and disadvantages of both international legal regimes and proposes that a special legal regime, based on the advantages of the existing laws, should be created to accommodate suborbital flight activity. This is to ensure that space tourists are accorded sufficient protection under international law in the event of rescue and remedy.

Included in

Law Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.