Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Relationships of real estate infrastructure and public services complying with comprehensive plan : a case study of Ratchapruek and Kallaprapruk Roads
Year (A.D.)
2022
Document Type
Thesis
First Advisor
ยุวดี ศิริ
Faculty/College
Faculty of Architecture (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์)
Department (if any)
Department of Housing (ภาควิชาเคหการ)
Degree Name
เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2022.490
Abstract
จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐส่งผลทำให้เกิดการพัฒนาที่อยู่อาศัย แหล่งงาน และสาธารณูปการ เมื่อทำการศึกษาย้อนไปในอดีตช่วง 20 - 30 ปีก่อนหรือช่วงพ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2564 พบว่า การเติบโตของโครงข่ายการคมนาคมมีผลต่อการพัฒนาพื้นที่ในฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร ทั้งจากการสร้างถนนกาญจนาภิเษก ถนนบรมราชชนนี ถนนราชพฤกษ์ และถนนกัลปพฤกษ์ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษารูปแบบการพัฒนาของที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาเพื่อนำรูปแบบการพัฒนา และแผนการพัฒนาของภาครัฐมาพิจารณาถึงลำดับการพัฒนาที่อยู่อาศัย และการเกิดสาธารณูปการที่เชื่อมโยงอันจะเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐในการกำหนดแผนงานในการพัฒนาการขยายตัวของพื้นที่เมืองต่อไป โดยใช้การเก็บข้อมูลด้วยวิธีการลงพื้นที่สำรวจภาคสนาม และการรวบรวมข้อมูลจากเว็ปไซต์ และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าลำดับการเกิดที่อยู่อาศัย และสาธารณูปการแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ 1) การเกาะกลุ่มของประเภทอสังหาริมทรัพย์ 3 ประเภทหลัก คือ ที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และสาธารณูปการ โดยพบว่าที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวจะมีการเกาะกลุ่มกันมากบริเวณถนนราชพฤกษ์เป็นหลัก ส่วนบ้านแถวและอาคารชุด พบการเกาะกลุ่มกันมากในบริเวณถนนกัลปพฤกษ์ ซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนดในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร 2) การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีความหนาแน่นมากขึ้นจะสัมพันธ์กับการจราจรที่หนาแน่นตามมา ไม่ว่าจะเป็นในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนช่วงเช้า และช่วงเย็น หรือ ช่วงระหว่างวันจะพบการจราจรหนาแน่นในโซนพาณิชยกรรม ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าแผนการคมนาคมตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร กับเส้นทางคมนาคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่มีความสอดคล้องกัน 3) แผนที่ลำดับการพัฒนาตามรายปีได้แสดงให้เห็นว่า เมื่อถนนถูกพัฒนาใหม่ กลุ่มหมู่บ้านจัดสรรจะเกิดขึ้นก่อนเป็นลำดับแรก ต่อมาเมื่อมีความหนาแน่นของที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นจะเริ่มพบเห็นพื้นที่พาณิชยกรรม และสาธารณูปการเกิดขึ้นตามมา โดยมีรูปแบบการพัฒนาไปตามแนวแกนถนน(Ribbon Development) ซึ่งพบว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินมีความสอดคล้องกับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร แต่ในส่วนสาธารณูปการที่เกิดขึ้น มีความครอบคลุมแต่ไม่ใช่ด้วยกลไกหรือการวางแผนของภาครัฐแต่เกิดจากการพัฒนาของภาคเอกชนเป็นหลัก จึงทำให้รูปแบบการพัฒนาขาดการดำเนินการอย่างดีพอจนไม่สอดคล้องกับการวางผังเมืองรวมของกรุงเทพมหานครในย่านนี้ จึงสรุปได้ว่าจากการพัฒนาที่เกิดขึ้นบนถนนราชพฤกษ์ และถนนกัลปพฤกษ์ พบว่า มีทั้งในประเด็นที่สอดคล้องและไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ซึ่งในประเด็นที่ไม่สอดคล้องนำมาสู่ข้อเสนอ ในการส่งเสริมการพัฒนาถนนสายย่อย การศึกษาเส้นทางเดินรถสาธารณะ การนำเครื่องมือทางผังเมืองด้านอื่นๆมาใช้งาน เช่น การจัดรูปที่ดิน รวมไปถึงการบังคับใช้แผนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The development of government infrastructure has stimulated housing development in Bangkok. In the past 20-30 years (1999-2021), the growth of the transportation networks has impacted the western Bangkok development area, including areas such as Kanchanapisek Road, Borommaractchachonani Road, Ratchapruek Road, and Kallaprapruk Road. As a result, the researcher was interested in studying the patterns of housing development, public facilities, and infrastructure, as well as the problems arising from these developments. The study compared development patterns with development plans of the government sector to consider a development timeline beneficial to the government in determining a plan for future urban expansion. Data were collected through surveys and information gathered from websites and research documents. The study results revealed that development patterns can be divided into three parts. 1) Clustering was found among all three types of real estate, including residential, commercial, and public facilities; for example, single detached houses clustered in the Ratchapruek area, while row houses and condominiums clustered in the Kallaprapruk area. 2) It was revealed that the high density of real estate developments was related to heavy traffic in the morning and evening, or heavy traffic around the commercial zone during the day. It can be noted that the actual transportation routes have not conformed to the Bangkok’s comprehensive transportation plan. 3) The time series of development maps showed that housing estate developments tend to be the first development after a new road has been constructed, followed by. residential developments to become higher density. Commercial developments and public facilities then follow. The actual land use conforms to Bangkok’s comprehensive plan. Although, the development of public utilities has been covered in the areas, they were not as a result of the government’s plan. but were, in fact, developed mainly by private sector. It can be concluded that the development pattern in these areas has not proceeded well in terms of conforming to the comprehensive plan in the study areas. In conclusion, from the development that occurred on Ratchapruek and Kallaprapruk Roads, it was found that there were issues that conformed to Bangkok’s comprehensive plan, while others did not. The areas that did not conform to the plan have led to recommendations in promoting the development of minor roads, studying public transport routes, utilizing other urban planning tools, and enforcing the plan to be more efficient.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
กิตติธีรธำรง, ชยางกูร, "ความสัมพันธ์ของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สาธารณูปโภค และ สาธารณูปการ ที่สอดคล้องกับผังเมืองรวม กรณีศึกษา ถนนราชพฤกษ์ และ ถนนกัลปพฤกษ์" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 6200.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/6200