Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Myocardial fibrosis in non-ischemic heart failure with improved ejection fraction
Year (A.D.)
2021
Document Type
Thesis
First Advisor
ศริญญา ภูวนันท์
Second Advisor
ไพโรจน์ ฉัตรานุกูลชัย
Third Advisor
สมนพร บุณยะรัตเวช สองเมือง
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
อายุรศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2021.1141
Abstract
ที่มา : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของพังผืดในกล้ามเนื้อหัวใจจากการตรวจด้วยเครื่องตรวจคลื่นสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้าของหัวใจระหว่างผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวชนิดที่มีการฟื้นตัวของการบีบตัวของหัวใจ (HF-impEF) กับผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวชนิดที่ไม่มีมีการฟื้นตัวของการบีบตัวของหัวใจ (P-HF-rEF) ระเบียบวิจัย : เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังเกี่ยวกับลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วย,ปริมาณขนาดยาควบคุมระบบประสาทและฮอร์โมนที่ได้รับ, ข้อมูลจากการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงและลักษณะของพังผืดกล้ามเนื้อหัวใจเพื่อนำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกัน ผลการศึกษา : จากผู้ป่วยกลุ่ม HF-impEF 79 รายและผู้ป่วยกลุ่ม HF-impEF 21 ราย พบว่าตรวจพบพังผืดกล้ามเนื้อหัวใจ 29 ราย (38%) และ 14 ราย (67%) ของผู้ป่วย HF-impEF และ P-HF-rEF ตามลำดับ (p=0.020) โดยปริมาณของพังผืดพบต่ำกว่าในกลุ่ม HF-impEF เทียบกับ P-HF-rEF (3.1% กับ 8.5%, p = 0.004) และขนาดของเวนตริเคิลข้างซ้ายในขณะคลายตัว และ ปริมาณพังผืดของเวนตริเคิลข้างซ้าย นั้นสัมพันธ์กับภาวะฟื้นตัวของการบีบตัวของหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป : ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวที่มีการฟื้นตัวของการบีบตัวของหัวใจมีปริมาณพังผืดในกล้ามเนื้อหัวใจเวนตริเคิลข้างซ้ายน้อยกว่า โดยขนาดของเวนตริเคิลข้างซ้ายในขณะคลายตัว และ ปริมาณพังผืดของเวนตริเคิลข้างซ้ายนั้นเป็นตัวแปรสำคัญที่สัมพันธ์กับภาวะการฟื้นตัวของการบีบตัวของหัวใจ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Background : This study aimed to examine myocardial fibrosis assessed by delayed gadolinium enhancement (DGE) in patients with non-ischemic heart failure with improved ejection fraction (HF-impEF) compared with those with persistent heart failure with reduced ejection fraction (P-HF-rEF) Methods : Cardiac MRI were performed as baseline. Patient characteristics, dosages of neurohormonal blockade, echocardiographic findings, LV scar pattern and extent, RV function and RV scar were collected. Results : Total 79 patients with HF-impEF and 21 patients with P-HF-rEF were enrolled. Myocardial scar was present in 29 (38%) and 14 (67%) in patients with HF-impEF and P-HF-rEF, respectively. LV myocardial scar extent was lower in HF-impEF compared with P-HF-rEF (3.1% vs 8.1% of total LV myocardium, p = 0.004). By multivariate analysis, baseline LV end-diastolic diameter and LV myocardial scar extent were only significant predictors of improved EF. Conclusion : HF-impEF had lower LV myocardial scar compared with P-HF-rEF. LV end-diastolic diameter and LV myocardial scar extent were the only two significant factors that can predict LV function recovery.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สุขสิริวรบุตร, ธนวินทร์, "ลักษณะพังผืดกล้ามเนื้อหัวใจในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวชนิดไม่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่มีการฟื้นตัวของการบีบตัวของหัวใจ" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 5683.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/5683