Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Self-awareness and prevention behavior program of COVID-19 using reasoned action theory and social intelligence learning theory of secondary school students
Year (A.D.)
2021
Document Type
Thesis
First Advisor
จินตนา สรายุทธพิทักษ์
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Department (if any)
Department of Curriculum and Instruction (ภาควิชาหลักสูตรและการสอน)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
สุขศึกษาและพลศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2021.1108
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคมจำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมจำนวน 20 คน โดยวิธีการจับคู่ (Matching Method) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมส่งเสริมความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคม มีค่าดัชนีความสอดคล้องรวม 0.98 แบบวัดความตระหนักรู้และแบบวัดพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.99 และ 0.95 มีค่าความเที่ยง 0.84 และ 0.82 ระยะเวลาในการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Purposes: To compare mean scores of self-awareness and prevention behavior of Covid - 19 after implementation between the experimental group and the control group. Methods: The samples were 40 secondary school students and were divided into two groups each group 20. The research instruments consisted of 7 activities: 1. Self - assessment, 2. Information recognition, 3. Practice, 4. Reinforce and Suggest, 5. My idol, 6. Consult, and 7. Student Leader with IOC of 0.98 and the data collection instruments included self-awareness and prevention behavior test with IOC of 0.99 and 0.95 reliabilities of 0.84 and 0.82, and discrimination of 0.26 – 0.69 and 0.31 – 0.69. The duration of the experiment was 8 weeks. The data were analyzed by mean, standard deviation, and t - test (paired - Sample t - test, independent sample t - test). Results: The research finding was as follows: The mean scores of self - awareness and prevention behavior of Covid-19 of the experimental group students after the assigned program were significantly higher than before the assigned program at a .05 level, and the mean scores of self - awareness and higher than the control group students at .05 level. Conclusion: Self - awareness and prevention behavior program of COVID - 19 using reasoned action theory and social intelligence learning theory of secondary school can improve self-awareness and prevention behavior in secondary school.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
กองสุวรรณ, อานนท์, "โปรแกรมส่งเสริมความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 5650.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/5650