Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Job burnout and related factors among employees of private distribution company in building materials business

Year (A.D.)

2021

Document Type

Thesis

First Advisor

ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Psychiatry (ภาควิชาจิตเวชศาสตร์)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สุขภาพจิต

DOI

10.58837/CHULA.THE.2021.1089

Abstract

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะหมดไฟในการทำงาน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนที่ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 331 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม - เมษายน 2565 ด้วยวิธีการส่งแบบสอบถามออนไลน์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลในครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามข้อมูลด้านการทำงาน แบบสอบถามด้านคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย แบบสอบถามความรู้สึกหลากหลายมิติเกี่ยวกับความช่วยเหลือทางสังคม และแบบสอบถามด้านภาวะหมดไฟในการทำงานฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา จากนั้นหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Pearson’s Chi-Square และวิเคราะห์หาปัจจัยทำนายโดยใช้สถิติ Logistic regression ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีภาวะหมดไฟด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ในระดับสูง ร้อยละ 46.2 ด้านการเมินเฉยต่องาน ร้อยละ 48.9 และด้านประสิทธิภาพในการทำงาน ร้อยละ 45.9 มีคุณภาพชีวิตในระดับกลางๆ ร้อยละ 75.8 และมีการสนับสนุนทางสังคมในระดับสูง ร้อยละ 61.6 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ และการเมินเฉยต่องาน ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส การมีบุตร รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สถานภาพทางเศรษฐกิจ การออกกำลังกาย อายุงาน ตำแหน่งงาน การเดินทางมาทำงาน ชั่วโมงทำงานเฉลี่ยต่อวัน และภาระงาน สำหรับประเภทที่อยู่อาศัย ภาระทางครอบครัว จำนวนชั่วโมงการนอนหลับเฉลี่ยต่อวัน และระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางมาทำงานนั้น เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟด้านการเมินเฉยต่องานเท่านั้น ได้แก่ ระดับการศึกษา และสวัสดิการที่ได้รับ ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิต และการสนับสนุนทางสังคมเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในทุกๆ ด้าน สำหรับตัวแปรที่สามารถทำนายการเกิดภาวะหมดไฟในระดับสูงในด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ และการเมินเฉยต่องาน ได้แก่ อายุงาน 1 - 10 ปี ตำแหน่งงานอยู่ในระดับปฏิบัติการ และระดับบังคับบัญชา ภาระงานในระดับมากเกินไป สำหรับจำนวนชั่วโมงการทำงานที่มากกว่า 8 ชั่วโมง ถือเป็นปัจจัยทำนายในด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในระดับปานกลาง – ต่ำ เป็นปัจจัยทำนายการเกิดภาวะหมดไฟในระดับสูงของทุกๆ ด้าน ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคมในระดับปานกลาง – ต่ำเป็นปัจจัยทำนายในด้านการเมินเฉยต่องาน และด้านประสิทธิภาพในการทำงาน ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปส่งเสริมสุขภาพจิตของพนักงาน พัฒนาองค์กร ทั้งการให้ความรู้ การจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันการเกิดภาวะหมดไฟ และสามารถนำผลการศึกษาไปค้นคว้าวิจัยต่อได้กับหน่วยงานอื่นในองค์กร หรือ ภาคเอกชนต่อได้ในอนาคต

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this descriptive study was to explore the level of job burnout and related factors among employees of a private distribution company in building materials business. A cross-sectional study was conducted on 331 employees of a private distribution company in the building materials business from January 2022 to April 2022. The data was collected by an online survey using a demographic and a work-related questionnaire, WHOQOL-BREF-THAI, r-Thai-MSPSS, and MBI-GS in Thai version. Chi-square test was applied to determine the association between factors and job burnout. Logistic regression was used to identify the predictors of job burnout in the participants. The study found the high level of job burnout among participants in each dimension, emotional exhaustion was 46.2%, cynicism was 48.9%, and professional efficacy was 45.9%. The quality of life was in moderate level (75.8%) and the social support was in high level (61.6%). The factors related to emotional exhaustion and cynicism were age, marital status, children, income, economic status, exercise, work experience, work position, work commute, working hours, and workload. A type of residence, family burden, hour of sleep, and commute time were the factors that related to emotional exhaustion. An education level and benefit were the related factors in cynicism. The quality of life and social support were related to job burnout in all domains. The predictive factors of high level in job burnout in emotional exhaustion and cynicism domain were 1-10 years of work experience, non-management level, and heavy workload. The long working hour (> 8 hours/day) was a predictive factor in emotional exhaustion domain. Low-moderate level of QOL was a predictive factor to job burnout in all dimensions. Low-moderate level of social support was a predictive factor of job burnout in cynicism and professional efficacy domain. The results could raise awareness in the organization for the preventive and protective solutions to reduce employee job burnout effectively.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.