Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Creative folklore related to the Naga belief in the upper northeastern region of Thailand
Year (A.D.)
2021
Document Type
Thesis
First Advisor
ศิริพร ภักดีผาสุข
Faculty/College
Faculty of Arts (คณะอักษรศาสตร์)
Department (if any)
Department of Thai (ภาควิชาภาษาไทย)
Degree Name
อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
ภาษาไทย
DOI
10.58837/CHULA.THE.2021.786
Abstract
ปรากฏการณ์บูชาพญานาคในภาคอีสานตอนบนทําให้เกิดการสร้างสรรค์คติชนใหม่หลายอย่าง วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูล คติชนสร้างสรรค์จากความเชื่อเรื่องพญานาคในภาคอีสานตอนบนของประเทศไทย วิเคราะห์วิธีคิดในการสร้างสรรค์คติชน และวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของข้อมูล คติชนสร้างสรรค์จากความเชื่อเรื่องพญานาคในท้องถิ่นดังกล่าว โดยเก็บข้อมูลระหว่าง ปี พ.ศ. 2559-2563 ในพื้นที่ภาคอีสานตอนบน ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี หนองคาย และจังหวัดนครพนม ผู้วิจัยใช้แนวคิดเรื่องคติชนสร้างสรรค์ (ศิราพร ณ ถลาง, 2559) เป็นแนวคิดหลักในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันในพื้นที่ภาคอีสานตอนบนมีการสร้างสรรค์คติชนที่เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องพญานาคหลายประเภท คติชนเหล่านี้มีลักษณะเป็น “คติชนสร้างสรรค์” และสามารถแบ่งได้ 3 กลุ่มใหญ่ คือ 1) เรื่องเล่าพญานาคสมัยใหม่ 2) ประเพณีและพิธีกรรมเกี่ยวกับการบูชาพญานาค และ 3) ประติมากรรม สถานที่ศักดิ์สิทธิ์และคติชนวัตถุเกี่ยวกับพญานาค เรื่องเล่าพญานาคสมัยใหม่ส่วนหนึ่งสืบทอดและสัมพันธ์กับตํานานพญานาคประจําถิ่น ส่วนประเพณีและพิธีกรรมเกี่ยวกับการบูชาพญานาคที่สำคัญมี 5 ประเพณี คือ (1) บุญบั้งไฟเดือน 6 และพิธีบวงสรวงใหญ่เจ้าปู่ศรีสุทโธเจ้าย่าศรีปทุมมา จังหวัดอุดรธานี (2) งานบวงสรวงพญาศรีสัตตนาคราช จังหวัดนครพนม (3) เทศกาลออกพรรษาและประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม (4) เทศกาลออกพรรษาและบั้งไฟพญานาคโลก อําเภอเมือง จังหวัดหนองคาย และ (5) เทศกาลออกพรรษาและบั้งไฟพญานาคโลก อําเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย วิธีคิดในการสร้างสรรค์คติชนที่มาจากความเชื่อเรื่องพญานาคในภาคอีสานตอนบน ได้แก่ การนําทุนวัฒนธรรมในท้องถิ่นโดยเฉพาะตำนานและความเชื่อเรื่อง “พญานาคประจําถิ่น” มาปรับประยุกต์เพื่อนําเสนอคติชนใหม่ การปรับเปลี่ยนประเพณีพิธีกรรมให้ยิ่งใหญ่เป็นงานมหกรรมและเทศกาลเพื่อให้เข้าถึงมวลชนทั้งในท้องถิ่นและนอกท้องถิ่นระดับประเทศ ทั้งนี้เพื่อสนองต่อบริบทสังคมในด้านต่าง ๆ เช่น บริบทเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บริบทการท่องเที่ยว และบริบทสื่อสมัยใหม่และเทคโนโลยี การสื่อสาร คติชนสร้างสรรค์เหล่านี้แสดงให้เห็นการเชื่อมโยงความเชื่อเรื่องพญานาคกับการสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่น และการสืบทอด สร้างสรรค์ และปรับเปลี่ยนคติชนประเพณีบางส่วนให้กลายเป็นวัฒนธรรมประชานิยม บทบาทหน้าที่ของคติชนสร้างสรรค์ที่มาจากความเชื่อเรื่องพญานาคมีหลายประการ เช่น การสร้างความหมายทางสังคมและอัตลักษณ์ให้แก่ชุมชน อีสานตอนบน การสนองต่อบริบทเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการท่องเที่ยว การสร้างความหมายใหม่ให้พญานาค การสร้างวิถีปฏิบัติใหม่ให้การบูชาพญานาค และบทบาทในการเป็นที่ยึดเหนี่ยวและพึ่งพิงทางใจให้คนในชุมชนและกลุ่มผู้ศรัทธา เป็นต้น ผลการวิจัยในวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ทำให้เห็นการสร้างสรรค์คติชนที่มาจากความเชื่อเรื่องพญานาคในลักษณะ “ใหม่” ที่อิง “ทุนวัฒนธรรม” ในท้องถิ่นและสัมพันธ์กับสื่อสมัยใหม่และวัฒนธรรมประชานิยม และทําให้เห็นพลวัตของคติความเชื่อเรื่องพญานาคที่ธํารงอยู่อย่างเข้มแข็งในชุมชนอีสานตอนบนและได้รับกระแสนิยมจนแพร่หลายข้ามภูมิภาค กระแสนิยมดังกล่าวทําให้การบูชาพญานาคได้รับการขยายขอบเขตจากคติความเชื่อพื้นถิ่นอีสานจนกลายเป็นคติชนของคนหมู่มากในสังคมไทยร่วมสมัย
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The phenomenon of "Naga worship" in the upper northeastern region has brought about the new creation of several types of folklore which can be considered creative folklore. This study aims at collecting creative folklore related to the Naga belief in the upper northeastern region of Thailand and analyzing ideas underlying the creation of the folklore and its functions in the region. The data were collected by conducting fieldwork in the areas of Udon Thani, Nongkhai, and Nakhon Phanom during 2016-2020. The concept of creative folklore (Nathalang, 2016) was adopted as the key concept of the study. The analysis reveals that recently in the upper northeastern region, several folklore genres have been newly created based on the Naga belief. The folklore can be considered “creative folklore” and can be categorized into three groups namely 1) the newly created Naga narratives, 2) traditions and rituals of the Naga worship, and 3) statues of the Naga, the Naga worship shrines, and material folklore related to the Naga belief. Some of the modern Naga narratives are derived from and related to indigenous myths of the Naga. Five significant traditions and rituals of the Naga worship were examined including 1) the Rocket Festival (Sixth Month Merit Making) and the Worship of Chaopu Srisuttho and Maeya Sripathumma in Udon Thani, 2) the Worship of Srisattanakkharat in Nakhon Phanom, 3) the End of Buddhist Lent Day and Illuminated Boat Procession Festival in Nakhon Phanom, 4) the Naga Fire Miracle of Faith Festival in Muang District, Nongkhai, and 5) the Naga Fire Miracle of Faith Festival in Phon Pisai District, Nongkhai. The ideas underlying the creation of the folklore related to the Naga belief in the upper northeastern region include adopting indigenous cultural capital especially the Naga myths and belief to create new folklore, elevating and transforming local traditions and rituals to extravaganzas and festivals targeting at the mass in the local areas as well as those from other regions of the country. The creation of such creative folklore responds to different conditions of the current social contexts including the context of creative economy, the growth of travel and tourism, and the development of modern media and communicative technology. This creative folklore demonstrates the integration of the local Naga belief and the construction of local identities as well as the preservation, creation, and adaptation of traditional folklore for creating popular culture. The functions of the creative folklore related to the Naga belief include constructing social meaning and identities for communities in the upper northeastern region, responding to the context of creative economy and tourism, creating new meanings for the Naga, creating new practices of the Naga worship, and serving as a spiritual anchor for local people and the believers. The findings in this study show the creation of folklore related to the Naga belief in “new” forms which rely on local “cultural capital” and are related to new media and popular culture. Moreover, they demonstrate the dynamics of the Naga belief which securely exists in the upper northeastern communities and becomes well received nationwide. This popularity results in the expansion of the Naga worship from local folk belief of Isan region to folklore of the mass in contemporary Thai society.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
มูลทรัพย์, พจมาน, "คติชนสร้างสรรค์จากความเชื่อเรื่องพญานาคในภาคอีสานตอนบนของประเทศไทย" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 5328.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/5328