Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Lifestyle, media exposure and intention to purchase healthcare and anti-aging products of pre-aging consumers
Year (A.D.)
2021
Document Type
Thesis
First Advisor
พนม คลี่ฉายา
Faculty/College
Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิเทศศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2021.672
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายรูปแบบการดำเนินชีวิตของกลุ่มผู้บริโภคที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ และเพื่อสำรวจการเปิดรับสื่อและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมสร้างสุขภาพและชะลอวัยของกลุ่มผู้บริโภคที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ โดยงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 50-59 ปี จำนวน 530 คน ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการดำเนินชีวิตของกลุ่มผู้ที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ แบ่งได้เป็น 13 รูปแบบ ได้แก่ 1) กลุ่มคนชอบเที่ยวแบบชิลล์ ๆ 2) กลุ่มไฮเทค กระฉับกระเฉง 3) กลุ่มใส่ใจสุขภาพ การดูแลตนเอง 4) กลุ่มรักสวยรักงามรักการแต่งตัว 5) กลุ่มใช้ชีวิตบนเน็ต 6) กลุ่มความคิดก้าวหน้า 7) กลุ่มรักการอยู่บ้าน 8) กลุ่มสุขภาพ รักการออกกำลังกาย 9) กลุ่มสายบุญ 10) กลุ่มคนรักอิสระ 11) กลุ่มคนพิจารณากับการใช้จ่าย 12) กลุ่มชีวิตอนาล็อก และ 13) กลุ่มการทำงานคือชีวิตจิตใจ กลุ่มตัวอย่างเปิดรับสื่อเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมสร้างสุขภาพและชะลอวัยผ่านช่องทางสื่อโดยรวมอยู่ในระดับน้อย มีเพียงการเปิดรับสื่อผ่านช่องทางสื่อใหม่ เช่น ยูทูบ แอปพลิเคชันชอปปิง ที่อยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าการเปิดรับสื่อโดยรวมมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมสร้างสุขภาพและชะลอวัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้ เป็นความสัมพันธ์เชิงบวกและอยู่ในระดับต่ำ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This research aims to explain the lifestyle of Pre-aging consumers and to explore media exposure and intention to buy Health care and Anti-aging products of Pre-aging consumers. This research is quantitative research, survey research. The questionnaire is a tool for data collective. The sample are 530 people whose ages are between 50 to 59 years old. Results of this study revealed that the lifestyles of Pre-aging consumers can be categorized thirteen different lifestyle patterns, including 1) Traveler 2) High-tech and enthusiast 3) Health care and Self-care group 4) The beauty-loving 5) Netizens 6) The progressive 7) Homebody 8) Health and exercise lover 9) People who like to make charity 10) Independent Lover 11) People who consider spending 12) Analog life and 13) Workaholic. The respondents had a low level of media exposure to Health care and Anti-aging products in all channels. Nevertheless, they exposed media through new media channels in moderate level. Their intention to buy is moderate. The hypothesis testing result showed that media exposure is correlated with intention to buy product with low-level and positive correlation at .01 statistic significant level.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
บูรณมานัส, ปภัสสร, "รูปแบบการดำเนินชีวิต การเปิดรับสื่อ และความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมสร้างสุขภาพและชะลอวัยของกลุ่มผู้บริโภคที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 5214.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/5214