Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

ศูนย์นิทรรศการสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

Vorapat Inkarojrit

Faculty/College

Faculty of Architecture (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์)

Department (if any)

Department of Architecture (ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์)

Degree Name

Master of Architecture

Degree Level

Master's Degree

Degree Discipline

Architectural Design

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.16

Abstract

The development of technological innovations has led to the diversification of art in terms of its form as an instrument to portray artists' ideas and creativity. Focusing on contemporary art in the twenty-first century, electronic and digital media play a dominant role as well as conventional art forms. From an architectural perspective, shifting media and form affect the design framework of art space in the twenty-first century, which requires further study for suitable criteria. In addition, existing art spaces are outnumbered by the sheer quantity of artworks due to continuous artistic production. Several art spaces counteract this problem by expanding the existing structure to support and respond to the increasing number of artworks. However, the process is facing some difficulty due to limitations to the existing structures and lack of design in support of any future expansion. The research methods included: 1) reviewing the academic documents related to the art space, method of expansion, and case studies based on expansion of art space; and, 2) surveying existing art spaces (local and international) to analyze patterns of exhibition space toward various form of art. According to the survey, if the majority of exhibition spaces are to support contemporary art forms they need further development to improve their existing status, especially flexibility of exhibition space. Therefore, the survey analysis has led to a design proposal using a prefabricated structure, which is suitable to support the future expansion and redesign of exhibition space in becoming more flexible in terms of curating. Finally, this design framework is implemented at the Chiang Mai Media Arts and Design Center (Chiang Mai, Thailand) to study the possibility as well as the advantages and disadvantages of the design proposal. This study will be useful for any future project as a guideline that can be adjusted to each specific site.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

ในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา ศิลปะได้ถูกพัฒนารูปแบบจากสื่อรูปแบบเดิม โดยมีการใช้สื่อดิจิตอลและสื่อในลักษณะอื่นๆเพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างศิลปินและผู้ชมกันอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุนี้ ในแง่ของสถาปัตยกรรม การออกแบบพื้นที่แสดงงานศิลปะควรถูกพัฒนาเพื่อรองรับสื่อใหม่ๆที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม ทั้งในแง่ของการใช้งานและความยืดหยุ่นของพื้นที่เพื่อรองรับชิ้นงานในรูปแบบต่างๆที่ถูกแสดง ประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่งในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คือ สถานที่แสดงผลงานศิลปะมีอยู่ในปัจจุบันไม่เพียงพอ เมื่อถูกนำไปเปรียบเทียบกับจำนวนผลงานจากศิลปินต่างๆที่ผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้สถานที่แสดงผลงานศิลปะบางแห่งได้มีการขยายพื้นที่แสดงผลงานเพื่อรองรับต่อจำนวนผลงานศิลปะที่มากขึ้น แต่การปรับเปลี่ยนพื้นที่มีข้อจำกัดหลายประการเนื่องจากตัวโครงสร้างเดิมมิได้คำนึงถึงการต่อเติมในอนาคต จึงทำให้การต่อเติมพื้นที่หรืออาคารควรเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการออกแบบเบื้องต้นของพื้นที่แสดงงานศิลปะ การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการออกแบบพื้นที่แสดงงานศิลปะในอนาคตเพื่อรองรับชิ้นงานที่ถูกผลิตขึ้นด้วยเทคนิคต่างๆอย่างเหมาะสม รวมถึงการออกแบบอาคารโดยใช้รูปแบบอาคารสำเร็จรูปที่สามารถรองรับการต่อเติมในอนาคตได้ งานวิจัยนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ เพื่อศึกษาทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้องในแง่ของการออกแบบและการต่อเติมพื้นที่แสดงงานศิลปะ โดยสามารถแบ่งแยกการต่อเติมออกได้เป็นสองประเภทคือ การต่อเติมแบบแยกอาคารใหม่ และการต่อเติมโดยใช้โครงสร้างเดิมของตึก โดยจะพบว่าการต่อเติมส่วนใหญ่จะใช้การต่อเติมแบบแยกอาคารเพื่อหลีกเลี่ยงข้อกำหนดและขีดจำกัดทางด้านโครงสร้างจากอาคารเดิม พร้อมทั้งทำการสำรวจและศึกษาลักษณะการแสดงงานผลงานตามหอศิลป์และพิพิธพัณฑ์ต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อเก็บข้อมูลในด้านการออกแบบพื้นที่แสดงงานศิลปะ โดยพบว่าผลงานทางศิลปะจะถูกจัดแสดงในห้องที่ถูกจัดไว้ทำให้เกิดข้อจำกัดต่อการแสดงชิ้นงาน อาทิเช่นขนาดของชิ้นงาน, สภาพแวดล้อมต่อชิ้นงาน และอื่นๆ ดังนั้นงานวิจัยฉบับนี้จึงนำข้อจำกัดที่ได้จากการวิเคราะห์มาเป็นแนวทางการออกแบบ โดยทดลองใช้พื้นที่ศูนย์นิทรรศการสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จริง พร้อมทั้งศึกษาข้อดีและข้อเสีย รวมถึงข้อเสนอแนะต่างๆเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบสถานที่แสดงผลงานศิลปะต่อไปในอนาคต

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.