Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
การเปรียบเทียบความแม่นยำของตำแหน่งรากฟันเทียมโดยวิธีใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเหลือแบบพลวัตรในสันเหงือกว่าง ออล-ออน-โฟร์ ที่มีความหนาแน่นของกระดูกแตกต่างกัน: การศึกษาในห้องปฏิบัติการ
Year (A.D.)
2021
Document Type
Thesis
First Advisor
Atiphan Pimkhaokham
Second Advisor
Pravej Serichetaphongse
Third Advisor
Wareeratn Chengprapakorn
Faculty/College
Faculty of Dentistry (คณะทันตแพทยศาสตร์)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's Degree
Degree Discipline
Esthetic Restorative and Implant Dentistry
DOI
10.58837/CHULA.THE.2021.169
Abstract
Background: Determination of available bone is particularly important in implant placement quality of bone can affect the accuracy implant placement. Currently, Dynamic navigation system illustrated the improvement of implant accuracy, The accuracy of implant placement using computer-assisted implant placement system (CAIS) is unknown. As a result, the goal of this study was to see how bone density affected implant placement accuracy with Dynamic CAIS. Purpose: To determine the effect of different bone density in the accuracy of implant placement using dynamic navigation system Materials and Methods: The study's overall design includes a single doctor planning each implant using a CBCT scan of a jaw model and performing a mock operation and implant delivery on a maxilla model while employing dynamic CAIS in various bone densities, all while following the All-on-4 protocol. To verify accuracy, the implant's placement and axis are compared to the implant plan. Oneway ANOVA and Welch test were used to determine differences between groups, and the Post Hoc test (Tukey HSD and Games-Howell) were used to determine differences within groups, The Pearson correlation coefficient was used to assess the relationship between each bone type and implant accuracy parameters. with 0.05 significant level. Results: There were no significant differences were found between four groups of bone density in all parameters; The angular deviation(p=0.324), Implant 3D platform deviation (p=0.8933) and 3D apex deviation(p=0.61). However, the lowest bone density group(type4) illustrated the highest deviation for all implant deviation differences between groups, the result trend towards negative correlation between bone density and the accuracy of implant placement in angular deviation (P= 0.59) and apex deviation (P=0.55). Conclusions: Within the limits of our investigation, the influence of bone condition on implant placement accuracy with dynamic computer-guided surgery is statistically unaffected
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
ที่มาและความสำคัญ: การประเมินวัดปริมาณและคุณภาพของสันกระดูกก่อนการฝังรากเทียมนั้นสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจาก คุณภาพของกระดูกนั้นสามารถส่งผลต่อความแม่นยำในการฝังรากเทียม ในปัจจุบันนี้การฝังรากเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ช่วยเหลือแบบพลวัตรได้แสดงผลถึงความแม่นยำในการฝังรากเทียมที่ดีขึ้น แต่ผลของความแม่นยำในการฝังรากเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ช่วยเหลือแบบพลวัตรในความหนาแน่นกระดูกที่แตกต่างกันนั้น ยังไม่มีผลลัพธ์ที่ชัดเจน ดังนั้นในการศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อทดสอบความแตกต่างของความแม่นยำในการฝังรากเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ช่วยเหลือแบบพลวัตรในความหนาแน่นของสันกระดูกที่แตกต่างกัน วัตถุประสงค์: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแม่นยำของการฝังรากเทียมบริเวณสันเหงือกว่างที่มีการสูญเสียฟันทั้งปากในบริบทของความหนาแน่นของกระดูกที่แตกต่างกัน โดยวัดความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งรากเทียมที่ฝังเปรียบเทียบกับตำแหน่งที่วางแผนไว้ก่อนการเริ่มการทดลอง การฝังรากเทียมโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยเหลือแบบพลวัตร วัสดุและวิธีการ: แบบจำลองฟันบนสันเหงือกว่างที่มีการสูญเสียฟันทั้งปากมีการบรรจุกระดูกเทียมตามความหนาแน่นบริเวณสันเหงือกว่างซี่ 16 12 22 26 ตามหลักการออล-ออน-โฟร์ จำนวน 16 ชิ้น รากเทียม 64 ตัว โดยจะแบ่งการทดลองออกเป็น 4 กลุ่มตามความหนาแน่นของสันกระดูกที่แตกต่างกันกลุ่มละ 4 ชิ้น โดยการทดลองจะมีการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์แบบโคนบีมทั้งก่อนและหลังฝังรากเทียม จากนั้นเมื่อได้ภาพถ่ายรังสีมาแล้วนาภาพถ่ายรังสีเข้าสู่กระบวนการวางแผนการรักษาด้วยโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์หลังจากนั้นทำการฝังรากเทียมตามที่วางแผนไว้ในแบบจำลองฟันบนโดยมีแบบจำลองฟันล่างทาหน้าที่เป็นคู่สบติดอยู่กับหัวจำลองเพื่อจำลองสถานการณ์เสมือนจริงของผู้ป่วยโดยมีทันตแพทย์ผู้ผ่าตัด 1 คนเป็นผู้ทำการฝังรากเทียม เมื่อเสร็จสิ้นการฝังรากเทียม แบบจำลองทั้งหมดจะถูกถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์แบบโคนบีม จากนั้นจะถูกนำเข้าซอฟต์แวร์เพื่อการวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนที่ตำแหน่งขอบบนของรากเทียม, ปลายรากเทียม และความคลาดเคลื่อนเชิงมุม ผลการศึกษา: จากผลการทดลองของตัวอย่างรากเทียม 64 ตัว ผลรวมความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยเชิงมุมคือ 2.60 ±1.04องศา ความคลาดเคลื่อนที่ตำแหน่งขอบบนของรากเทียมคือ 1.27±0.55 มม. และความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยที่ตำแหน่งปลายรากเทียมคือ 1.25±0.62 มม. โดยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มความหนาแน่นกระดูกที่แตกต่างกัน กลุ่มความหนาแน่นกระดูกที่น้อยที่สุด(D4) แสดงผลที่คลาดเคลื่อนของการฝังรากเทียมมากที่สุดในทุกหน่วยวัด นอกจากนั้นผลยังแสดงให้เห็นถึง ความสัมพันธ์เชิงลบ ระหว่าง ความหนาแน่นของกระดูก และ ความแม่นยำของการฝังรากเทียมในทุกหน่วยวัด สรุปผลการศึกษา: ด้วยข้อจำกัดของการทดลองนี้ ความหนาแน่นของกระดูกที่แตกต่างกัน ไม่มีความสัมพันธ์กับความแม่นยำในการฝังรากเทียมบนสันเหงือกว่างทั้งปาก ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์นำทางเสมือนจริงอย่างมีนัยสำคัญ
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
Pornpolsarun, Jutasinee, "Accuracy comparison of dental implants obtained by dynamic CAIS in All-on-4 edentulous area among different types of bone density: an in vitro study" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 4711.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/4711