Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Academic management strategies based on the concept of creative school students' core competencies
Year (A.D.)
2020
Document Type
Thesis
First Advisor
ธีรภัทร กุโลภาส
Second Advisor
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Department (if any)
Department of Educational Policy, Management, and Leadership (ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา)
Degree Name
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
บริหารการศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2020.851
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการและสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์ 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการตามแนวคิดสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์ และ 3) พัฒนา กลยุทธ์การบริหารวิชาการตามแนวคิดสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์ ใช้ระเบียบวิธีผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Method Design) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data Collection) ร่วมกับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data Collection) กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 42 เขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 342 โรงเรียน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1. แบบประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิดการบริหารวิชาการและแนวคิดสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์ 2. แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการบริหารวิชาการตามแนวคิดสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์ 3. แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างกลยุทธ์การบริหารวิชาการตามแนวคิดสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการใช้สถิติเชิงบรรยายคือ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การส่งเสริมและพัฒนาให้มีแหล่งเรียนรู้ และการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กรอบแนวคิดสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์ ประกอบด้วย การพัฒนานักเรียนในด้านดังต่อไปนี้ 1) ความสงสัยใคร่รู้ (Curiosity) 2) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) 3) การวิพากษ์ (Criticism) 4) การสื่อสาร (Communication) 5) การร่วมมือ (Collaboration) 6) ความเห็นอกเห็นใจ (Compassion) 7) การตั้งสติ (Composure) 8) ความเป็นพลเมือง (Citizenship) 2. ความต้องการจำเป็นสูงสุดของการพัฒนาการบริหารวิชาการตามแนวคิดสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์ คือ ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผล ส่วนสมรรถนะหลักที่จำเป็นต้องพัฒนาสูงสุด คือ สมรรถนะการวิพากษ์ จุดแข็งของการบริหารวิชาการ คือ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และการจัดการเรียนการสอน ส่วนจุดอ่อนของการบริหารวิชาการ คือ ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผล จุดแข็งของสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์ คือ สมรรถนะความเป็นพลเมือง (Citizenship) ส่วนจุดอ่อนของสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์ คือ สมรรถนะการวิพากษ์ (Criticism) โอกาส คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่วนภาวะคุกคาม คือ การเมืองและนโยบายของรัฐ สภาพเศรษฐกิจ และสภาพสังคม 3. กลยุทธ์การบริหารวิชาการตามแนวคิดสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์หลัก คือ (1) พลิกโฉมหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะการวิพากษ์ของนักเรียน โดยมี 2 กลยุทธ์รอง 8 วิธีดำเนินการ (2) ยกระดับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะการวิพากษ์ของนักเรียน โดยมี 3 กลยุทธ์รอง 10 วิธีดำเนินการ (3) ปฏิรูปการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาสมรรถนะการวิพากษ์ของนักเรียน โดยมี 2 กลยุทธ์รอง 9 วิธีดำเนินการ (4) ปฏิรูปแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะการวิพากษ์ของนักเรียน โดยมี 2 กลยุทธ์รอง 6 วิธีดำเนินการ (5) พลิกโฉมการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาสมรรถนะการวิพากษ์ของนักเรียน โดยมี 2 กลยุทธ์รอง 11 วิธีดำเนินการ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This research aims to 1) to study the conceptual framework of academic management strategies and creative school students’ core competencies. 2) to analyze development needs of academic management strategies based on the concept of creative school students’ core competencies and 3) develop academic management strategies based on the concept of creative school students’ core competencies. This research applies a multiphase mixed method design through both quantitative and qualitative data collection from the sample of 342 secondary schools in Thailand using multi-stage random sampling. The research methodologies are 1) evaluation form for academic management concept and students’ core competencies in creative school concept 2) questionnaires on current and desirable development status and 3) strategic evaluation form to testify feasibility and appropriateness of the strategies. The quantitative data was analyzed by using percentage, frequency, mean, standard deviation, PNImodified. The qualitative data was analyzed by content analysis method. The results are as follows: 1. the conceptual framework of academic management strategies consists of school curriculum development, teaching and learning management, assessment and evaluation, learning resources development, incorporating and using technology with learning media; the conceptual framework of the students’ core competencies consisted of 1) Curiosity 2) Creativity 3) Criticism 4) Communication 5) Collaboration 6) Compassion 7) Composure and 8) Citizenship 2. The top priority development needs of academic management strategies based on the concept of creative school students’ core competencies is first to incorporate and use technology with learning media, follows by learning resources development, assessment and evaluation, teaching and learning management and school curriculum development. Regarding core competencies, top priority for development is criticism. The strengths of academic management are school curriculum development and teaching and learning management. The weaknesses of academic management are incorporating and using technology with learning media, learning resources development and assessment and evaluation. The strengths of creative school students’ core competencies is students’ citizenship competency, while the weakness of creative school students’ core competencies is students’ criticism competency. The opportunity is technology and the threats are political and government policies, economic, and social conditions. 3. Academic management strategies and creative school students’ core competencies consisted of 5 main strategies : (1) Transform the school curriculum to develop students’ criticism competency with 2 sub-strategies and 8 procedures (2) Upgrade teaching and learning management to develop students’ criticism competency with 3 sub-strategies and 10 procedures (3) Reform of the evaluation processes to students’ criticism competency with 2 sub-strategies and 9 procedures. (4) Reform learning resources to develop students’ criticism competency with 2 sub-strategies and 6 procedures. (5) Transform the use of media and educational technology to develop students’ criticism competency with 2 sub-strategies and 11 procedures.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เมฆวิลัย, เทพสุดา, "กลยุทธ์การบริหารวิชาการตามแนวคิดสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์" (2020). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 4395.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/4395