Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The follow up of physical environment development in well-being workplace using user attitude : case study of research and innovation for sustainability center (RISC)
Year (A.D.)
2020
Document Type
Thesis
First Advisor
พัศพันธน์ ชาญวสุนันท์
Second Advisor
อรรจน์ เศรษฐบุตร
Faculty/College
Faculty of Architecture (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์)
Department (if any)
Department of Housing (ภาควิชาเคหการ)
Degree Name
เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2020.575
Abstract
ปัจจุบันสถานการณ์การเติบโตและอุปทานของตลาดอาคารสำนักงานอยู่ในภาวะการแข่งขันของตลาดที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงมาก ทำให้ต้องอาศัยกลยุทธ์การพัฒนาที่ก่อให้เกิดความยั่งยืน โดยปัญหาด้านสุขภาพหรือสุขภาวะของผู้ใช้อาคารเป็นประเด็นสำคัญในการพัฒนาอาคารสำนักงาน จึงมีความจำเป็นต้องศึกษาการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะในการใช้งาน ซึ่งในประเทศไทยมีโครงการสำนักงานสุขภาวะที่ได้รับการรับรองมาตรฐานในการออกแบบอาคารที่ส่งเสริมสุขภาวะ WELL Building Standard Version 1 แห่งแรกในประเทศไทย คือ โครงการศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ผู้วิจัยจึงเลือกโครงการดังกล่าวเป็นกรณีศึกษาและทำการศึกษามาตรฐาน WELL Building Standard Version 1 ร่วมกับการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ตลอดจนการสังเกตการณ์ภายในพื้นที่โครงการกรณีศึกษา โดยใช้กระบวนการติดตามผลและประเมินผลโครงการ (Project Monitoring and Evaluation) โดยมีกลุ่มผู้ใช้ภายในพื้นที่โครงการกรณีศึกษาทั้งหมดจำนวน 9 คน และกลุ่มผู้ประกอบการหรือผู้บริหารระดับสูงและผู้พัฒนาโครงการเป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัย โดยใช้หลักการประเมินตนเอง (Self-assessment) ในการให้ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า 1) โครงการศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) มีการพัฒนาโครงการตามมาตรฐาน WELL Building Standard Version 1 โดยเลือกระดับการรับรองมาตรฐานในระดับ Gold และได้รับการรับรองมาตรฐานดังกล่าว โดยมีการดำเนินการเกณฑ์ปัจจัยตามมาตรฐานจำนวน 61 เกณฑ์ปัจจัยจากทั้งหมด 103 เกณฑ์ปัจจัย คิดเป็นร้อยละ 59.22 ของเกณฑ์ปัจจัยตามมาตรฐานในประเภทการตกแต่งพื้นที่ภายในอาคารใหม่และการตกแต่งพื้นที่ภายในอาคารเดิมทั้งหมด ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาในประเด็นด้านการให้ความสำคัญและความคาดหวังต่อเกณฑ์ปัจจัยในการพัฒนาโครงการ พบว่า หมวด Air เป็นหมวดที่มีจำนวนการดำเนินการทั้งในข้อบังคับการดำเนินการ (Precondition) และข้อเลือกทำ (Optimization) มากที่สุด โดยผู้พัฒนาโครงการมีการให้ค่าระดับความสำคัญและความคาดหวังเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยที่เกณฑ์ปัจจัยในหมวด Air มีค่าเฉลี่ยการให้ความสำคัญในระดับมากที่สุด และมีค่าเฉลี่ยความคาดหวังในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน รองลงมา ได้แก่ หมวด Light มีค่าเฉลี่ยการให้ความสำคัญในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยความคาดหวังในระดับมากที่สุด หมวด Comfort มีค่าเฉลี่ยการให้ความสำคัญและความคาดหวังในระดับมาก ตามลำดับ 2) ผู้ใช้ตอบสนองโดยการรับรู้และมีความพึงพอใจต่อเกณฑ์ปัจจัย Air Quality Standards มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยการรับรู้อยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ เกณฑ์ปัจจัย Ergonomics มีค่าเฉลี่ยการรับรู้อยู่ในระดับค่อนข้างมาก และมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เกณฑ์ปัจจัย Visual Lighting Design มีค่าเฉลี่ยการรับรู้อยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับค่อนข้างมาก และเกณฑ์ปัจจัย Cleanable Environment มีค่าเฉลี่ยการรับรู้อยู่ในระดับค่อนข้างมาก และมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับค่อนข้างมาก ตามลำดับ โดยเกณฑ์ปัจจัยดังกล่าวเป็นเกณฑ์ปัจจัยในหมวด Air หมวด Comfort และหมวด Light ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับการให้ความสำคัญและความคาดหวังของผู้พัฒนาโครงการต่อเกณฑ์ปัจจัยที่ใช้ในการพัฒนาตามมาตรฐานในการออกแบบอาคารส่งเสริมสุขภาวะ WELL Building Standard Version 1 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงเกณฑ์ปัจจัยและหมวดการพัฒนาที่ผู้พัฒนาโครงการให้ความสำคัญ อีกทั้งผู้ใช้ตอบสนองโดยการรับรู้และมีความพึงพอใจ จึงควรคำนึงถึงและให้ความสำคัญต่อเกณฑ์ปัจจัยและหมวดการพัฒนาดังกล่าว เพื่อให้เกิดการใช้งานของผู้ใช้ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามผลการวิจัยนี้เป็นเพียงผลการวิจัยเฉพาะโครงการกรณีศึกษาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเท่านั้น ในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไปอาจทำการศึกษาโครงการสำนักงานสุขภาวะอื่นเพิ่มเติม เพื่อเปรียบเทียบความสอดคล้องหรือแตกต่างกันระหว่างโครงการสำนักงานสุขภาวะที่ได้รับการรับรองและไม่ได้รับการรับรอง อาจทำให้ได้ข้อค้นพบในการวิจัยที่แตกต่างกัน และทำให้การพัฒนาสำนักงานสุขภาวะในประเทศไทยมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น อีกทั้งงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเฉพาะมาตรฐาน WELL Building Standard Version 1 เท่านั้น ผู้ประกอบการหรือผู้พัฒนาโครงการที่จะพัฒนาสำนักงานสุขภาวะตามมาตรฐาน WELL Building Standard ในอนาคตควรทำการศึกษามาตรฐานในการออกแบบอาคารส่งเสริมสุขภาวะ WELL Building Standard Version 2 ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบัน ประกอบกับการวางแนวคิดและวัตถุประสงค์ของโครงการเป็นสำคัญ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
At present, the growth and supply of office buildings lead to the highly competitive market. Therefore, office buildings require a sustainable development strategy and the well-being of buildings’ occupants is important issue. Therefore, it is necessary to study the development of the physical environment that promotes wellbeing in building. In Thailand, the first wellbeing workplace that received WELL Certification is The Research and Innovation for Sustainability Center (RISC). Thus, this research selected RISC as a case study and studied WELL Building Standards Version 1 with a survey research study from data collection, interviews and questionnaires, as well as observations within the case study project area. The study was in accordance with Project Monitoring and Evaluation process. There are nine users in the case study project area and a group of entrepreneurs or senior executives and the project team contributor as a sample group in the research study, which uses self-assessment principles to provide information. The results showed that, 1) The RISC project has been developed according to WELL Building Standard Version 1 with the Gold level certification. A total of 61 features were implemented out of a total of 103 features, representing 59.20% of WELL’s features in the new and existing interiors category have been conducted. In addition, the researcher conducted additional studies on the importance and expectations of the RISC project development feature. It found that the Air concept is the most conducted features for both precondition and optimization features. A project team contributor gave significant and expected weight in the same direction. The feature that was the highest priority and expectation was contained in the Air concept. The Light concept and Comfort concept were rated as the second and third for significance and expected weight concept. The Light concept averaged a high priority rating, and the average expectation was at the highest level. Furthermore, the average priorities and expectations of the Comfort concept were at their highest, respectively. 2) Users responded with the highest recognition and satisfaction with the Air Quality Standards feature, the average perception was at the highest level and the average satisfaction level was at a high level. This was followed by the Ergonomics feature, which was perceived at a relatively high level and the satisfaction level was at a high level. The Visual Lighting Design feature was perceived at a high level and the satisfaction level was quite high. Finally, the Cleanable Environment feature was perceived at quite a high level and the satisfaction level was quite high, respectively. The aforementioned feature were features in the Air concept, the Comfort concept, and the Light concept respectively. This is in accordance with the importance and expectations of the project team contributor. The results of the study show the features and development concepts that the project team contributors focused on. Moreover, users responded with recognition and satisfaction. Therefore, it should consider and give importance to the features and concepts of development to facilitate more efficient use. In future research studies, the others wellbeing workplaces should be studied to compare the conformity or difference between certified and non-certified wellbeing workplace projects that lead to different research findings. This makes the development of wellbeing workplaces in Thailand more comprehensive. Moreover, this research is a study only for WELL Building Standard Version 1. Entrepreneurs or project team contributors who wish to develop a well-being workplace in accordance with the WELL Building Standard in the future must study the WELL Building Standard Version 2, which is the current version, together with an emphasis on the conceptualization and objectives of the project.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ศรีวงศ์งาม, บุญชิรา, "การติดตามผลการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของสำนักงานสุขภาวะ โดยทัศนคติของผู้ใช้ : กรณีศึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC)" (2020). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 4122.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/4122